ในปัจจุบันบันอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้มีการเติบโตและพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้คนหันมาสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้นโดยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีสารสกัดจากธรรมชาติและมีคุณสมบัติที่ดี เช่น ลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวและปกป้องผิวจากจากมลภาวะ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีสารสกัดธรรมชาติจากพืชหลายชนิดที่ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง โดยเปลือกถั่วเขียวเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตวุ้นเส้น มีในปริมาณมากเป็นของเสียเหลือทิ้ง ส่งกลิ่นเหม็น และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ซึ่งมีมูลค่าน้อย งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาสารพอลิแซคคาไรด์ (polysaccharides) ในเปลือกถั่วเขียวด้วยวิธีการสกัดโดยการรีฟลักซ์ที่สภาวะต่างกันและวิเคราะห์หาปริมาณน้ำตาลทั้งหมด (total sugar analysis) ด้วย phenol-sulfuric acid colorimetric method ทำการทดสอบการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) พบว่าการสกัดพอลิแซคคาไรด์จากเปลือกถั่วเขียวด้วยการรีฟลักซ์ที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ ที่สภาวะ 1 ชั่วโมง เท่ากับ 126.00 µg/mg ถ้าหากใช้ระยะเวลาในการสกัดสารพอลิแซคคาไรด์มากจะส่งผลให้สูญเสียปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสารละลายมาตรฐานไซโลส และพบว่าสารสกัดที่ได้มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ IC50 เท่ากับ 45.76891 µg/mL เมื่อเปรียบเทียบกับสารละลายมาตรฐานแอสคอร์บิกหรือวิตามินซีซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 79.87855µg/mL แสดงให้เห็นว่าสารพอลิแซคคาไรด์ในเปลือกถั่วเขียวมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้นสารสกัดพอลิแซคคาไรด์จากเปลือกถั่วเขียวมีศักยภาพในการนำมาต่อยอดวิจัยและช่วยเพิ่มมูลค่าทางด้านอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เวชสำอาง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพและความงามในอนาคต
Nowadays, the cosmetics industry has economic growth and development. Because of, people are more interested in health care. Natural products are another option a very popular. Choose cosmetic products that contain natural extracts and have good properties such as reduce inflammation, antioxidants, increase skin moisture and protect the skin from pollution, etc., Currently, there are many natural extracts from plants used in the production of cosmetics. Mung bean shells are by-products from the glass noodles manufacturing. Contains a large amount wasts, smelly and affecting the environment. Used for the production of animal feed, which is of little value. This study was conducted to polysaccharides in Mung bean shells using reflux extraction method at different conditions and the total sugar content was determined by phenol-sulfuric acid colorimetric method. Antioxidant assay. ResuIts showed found that polysaccharide extracts from mung bean shell by reflux extraction with the highest sugar content was 126.00 µg/mg at 1 hour condition. If it takes a lot of time to extract polysaccharides will result increased sugar loss. Compared to the xylose standard solution and found the antioxidant activity of the extract IC50 45.76891 µg/mL compared to ascorbic acid standard solution or vitamin C. which had an IC50 79. 87855µg/mL showed that polysaccharides in Mung bean shells have antioxidant activity. Therefore, polysaccharide extracts from Mung bean shells have the potential to be used for further research and to add value in the cosmetic and cosmeceutical industry for the development of health and beauty products in the future.
หัวหน้าโครงการ
Team leaderr
ผศ.ดร.คงอภิสิทธิ์ ทองพูนสมจิตถ์
Asst. Prof. Dr.Kongaphisith Tongpoolsomjit
นักวิจัย/นักประดิษฐ์
Inventors
1. นส.พนิตพิมพ์ อัฏฐปฏิพันธ์
2. นายวรเมธ เนตรสว่าง
3. นายวิโรจน์ แก้วมูล