Science and Technology Research Institute (STRI)
We are the central hub for coordinating research activities both within and outside the university. Our mission includes supporting, promoting, and disseminating university research, as well as managing intellectual property assets.
About Us

SERVICES

We provide sincere service, coordinate research both within and outside the university, disseminate research findings, offer intellectual property consultation, commercialize research outcomes, and foster new entrepreneurs

Highlight Research and Innovation

แมงกะพรุนฟรีซดราย รสซอสน้ำมัน งา (KURAGE)

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: วิทยาศาสตร์การอาหาร
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL7 ผลของการพัฒนาขั้นสุดท้ายได้ถูกสาธิตในสภาวะการทำงานแล้ว
RESEARCHER TEAM: รองศาสตราจารย์ ดร. เบญจวรรณ ธรรมธนารักษ์

TECHNOLOGY OVERVIEW

ผลิตภัณฑ์เป็นแมงกะพรุนแห้งกรอบพร้อมบริโภคด้วยกระบวนการแปรรูปและการทำฟรีซดรายในระดับอุตสาหกรรม

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

การผลิตขนมทานเล่นที่เป็นแมงกะพรุนแห้งกรอบพร้อมบริโภค

ระบบฟอกอากาศพร้อมเติมออกซิเจน สำหรับการปรับคุณภาพอากาศใน อาคาร

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: เทคโนโลยีชีวภาพ
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL8 ผลการทดสอบใช้งานในสภาวะทำงานจริงอย่างต่อเนื่องมีผลการรับรองมาตรฐาน มีคู่มือการผลิตและใช้งาน
RESEARCHER TEAM: ศาสตราจารย์ ดร.จันทรพร ผลากรกุล

TECHNOLOGY OVERVIEW

โครงการนี้เป็นการพัฒนาระบบผลิตออกซิเจน ณ สถานที่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 กลุ่ม มีเป้าหมายคือ 1. ระบบผลิตออกซิเจนสำหรับอุตสาหกรรมและ 2. ระบบผลิตออกซิเจนสำหรับทางการแพทย์ โดยกลุ่มเป้าหมายของระบบออกซิเจนสำหรับอุตสาหกรรมได้แก่ การบำบัดน้ำเสีย การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเติมในน้ำดื่ม การผลิตจิวเวอรี่ และอื่นๆ สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมจำเป็นต้องพัฒนาให้ระบบมีคุณลักษณะที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์คู่แข่งจากต่างประเทศโดยเฉพาะด้านเสถียรภาพของระบบ อายุการใช้งาน ความสะดวกในการซ่อมบำรุงและความสะดวกต่อการใช้งาน ในส่วนของระบบผลิตออกซิเจนสำหรับทางการแพทย์นั้น จำเป็นต้องพัฒนาระบบให้ได้มาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับกลุ่มเป้าหมายของระบบผลิตออกซิเจนทางการแพทย์ มุ่งเน้นไปที่โรงพยาบาลส่วนภูมิภาคขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีปริมาณไม่ต่ำกว่า 720 แห่งทั้งประเทศ กิจกรรมหลักในโครงการ ประกอบด้วย (1) พัฒนาระบบต้นแบบผลิตออกซิเจน ณ สถานที่ด้วยเทคโนโลยี Pressure swing adsorption Automation and control engineering และ IoT (2) เก็บข้อมูลวิจัยและประเมินผลตอบรับต่อตัวผลิตภัณฑ์ระบบผลิตออกซิเจน ณ สถานที่ จากผู้ใช้งานของโรงพยาบาลที่ใช้เป็นกรณีศึกษา (3) พัฒนาทักษะผู้ประกอบการใหม่ และนำองค์ความรู้มาดำเนินการธุรกิจ และสร้างระบบการบริหารจัดการของบริษัท และ (4) สำรวจและวิเคราะห์ตลาดสำหรับระบบผลิตออกซิเจน ณ สถานที่ พัฒนาแผนการตลาด และดำเนินการทำตลาด

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

นักวิจัยมีเป้าหมายเป็นผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งเครื่องผลิตออกซิเจนเพื่อใช้ในทางการแพทย์ มีประสบการณ์ความพร้อมเชิงพาณิชย์

สูตรส่วนผสมและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวจากใบหูเสือ

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: วิทยาศาสตร์การอาหาร
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL5 องค์ประกอบที่สำคัญได้ถูกสาธิตในสภาวะที่ใกล้เคียงกับการใช้งานแล้ว
RESEARCHER TEAM: อาจารย์ ดร.พนิดา เรณูมาลย์

TECHNOLOGY OVERVIEW

การผลิตผงโรยข้าวโดยนำสมุนไพรในท้องถิ่น คือ ใบหูเสือ ที่มีกลิ่นเหมือนใบออริกาโน ซึ่งมีสรรพคุณในการเพิ่มความอยากทานอาหารโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ นักวิจัยได้เพิ่มสารอาหารอื่นในผงโรยข้าวด้วย เช่น ปลาโอแห้ง งา เป็นต้น กระบวนการแปรรูปใบหูเสือใช้วิธีการอบแห้งสุญญากาศ (Vacuum Drying) เพื่อรักษาคุณค่าของสมุนไพรไว้

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

ผลิตภัณฑ์ใช้ในการรับประทานร่วมกับข้าวในลักษณะเดียวกันกับผงโรยข้าวของญี่ปุ่น

การผลิตสารเบต้าคริปโตแซนทินโดยกระบวนการทางชีวภาพ

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: วิทยาศาสตร์การอาหาร
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL3 เป็นการพิสูจน์หรือตรวจสอบแนวคิดโจทย์วิจัยที่ตั้งไว้
RESEARCHER TEAM: ศาสตราจารย์ ดร. วิไล รังสาดทอง

TECHNOLOGY OVERVIEW

เบต้าคริปโตแซนทิน (β-cryptpxanthin) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ชนิดแซนโทฟิลล์ พบได้ทั้งในพืชเชื้อจุลินทรีย์และสาหร่ายจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  แต่มีปริมาณที่พบมีไม่สูงเท่าเบต้าแคโรทีน ในปัจจุบันพบว่าเริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับเบต้าคริปโตแซนทินมากขึ้น เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขร่างกายอย่างมาก การผลิตด้วยกระบวนการทางชีวภาพโดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ สาหร่ายหรือเอนไซม์ มีข้อได้เปรียบมากกว่าการผลิตหรือสกัดจากพืช ในแง่ของการควบคุมสภาวะการผลิตเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและปริมาณสูงที่สุด  รวมถึงการเพิ่มหรือลดขนาดการผลิตก็สามารถทำได้ง่ายกว่าการสกัดจากพืช  ดังนั้นโครงการนี้เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการผลิตสารเบต้าคริปโตแซนทินด้วยกระบวนการทางชีวภาพ

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

นักวิจัยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณลักษณะของสารเบต้าคริปโตแซนทินเพื่อให้ได้ปริมาณสูงสุด ภายใต้โครงการวิจัยทั้งนี้ยังไม่มีการประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์

รถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติไร้คนขับ

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry’s

อุปกรณ์ขับไล่นกด้วยความถี่อัลตราโซนิคและไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูง

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: อิเล็กทรอนิกส์
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL6 การทดสอบในสภาวะเลียนแบบใกล้เคียงสภาวะจริงแล้วได้ผลตามที่คาดหวัง
RESEARCHER TEAM: อาจารย์วิทยากรณ์ บ่อชน

TECHNOLOGY OVERVIEW

เป็นการพัฒนาและต่อยอดอุปกรณ์ขับไล่นกพิราบในรูปแบบเดิมที่เคยมีผู้คิดค้นและผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายทางการค้าแล้วในปัจจุบันแต่ยังมีข้อบกพร่องหลายประการโดยใช้เทคนิควิธีใหม่ที่ยังไม่เคยมีผู้คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้น นั่นคือการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูง (High voltage direct current) ด้วยวิธีการของวงจรเรียงกระแสชนิดเต็มคลื่นแบบบริดจ์ วงจรอินเวอร์เตอร์ และวงจรทวีแรงดัน ใช้คุณสมบัติทางไฟฟ้าของวงจรดังกล่าวมาต่อรวมกันเพื่อประกอบขึ้นเป็นวงจรรวมที่มีแรงดันไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งพันโวลต์ เพื่อนำไปใช้ในการขับไล่นกพิราบและนกกระจอกตามสถานที่ต่างๆ เช่น บ้าน โรงเรียน โรงงาน โรงอาหาร หรือสถานที่อื่น ๆ

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

นักวิจัยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังภาคเอกชนในลักษณะการขายอนุสิทธิบัตรในการใช้งานเชิงพาณิชย์

สูตรส่วนผสมและกรรมวิธีการผลิตโยเกิร์ตกรอบ

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: วิทยาศาสตร์การอาหาร
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL4 องค์ประกอบที่สำคัญได้ถูกสาธิตในระดับห้องปฏิบัติการแล้ว
RESEARCHER TEAM: รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนี เจริญ

TECHNOLOGY OVERVIEW

ผลิตภัณฑ์เป็นนมแปรรูปเป็นโยเกิร์ตโดยใช้เชื้อกลุ่มแลคโตบาซิลัสในการหมัก เมื่อคุณภาพของโยเกิร์ตคงตัวแล้ว จึงนำไปผ่านกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะรสชาติแบบโยเกิร์ตแห้งที่สามารถรับประทานได้ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเก็บภายใต้อุณหภูมิห้องในซองปิด

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

การแปรรูปโยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตแห้ง

การผลิตสารเบต้าคริปโตแซนทินโดยกระบวนการทางชีวภาพ

เครื่องทอดไข่ดาว

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: เทคโนโลยีการจัดการ
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL7 ผลของการพัฒนาขั้นสุดท้ายได้ถูกสาธิตในสภาวะการทำงานแล้ว
RESEARCHER TEAM: รองศาสตราจารย์ ศุภโชค แสงสว่าง

TECHNOLOGY OVERVIEW

เครื่องทอดไข่ดาวอัตโนมัติสามารถทอดไข่ได้อย่างต่อเนื่อง

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

เครื่องทอดไช่ดาวนี้สามารถนำใช้ในโรงแรมหรือร้านอาหาร

ยานขับเคลื่อนใต้น้ำชนิดใช้สายควบคุม (ROV)

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL9 เทคโนโลยีที่พร้อมส่งมอบไปสู่การใช้งานจริง จนสามารถทดสอบการใช้งานและ การติดตามผลการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
RESEARCHER TEAM: ดร.สว่างทิตย์ ศรีกิจสุวรรณ

TECHNOLOGY OVERVIEW

ครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการวิจัยและพัฒนายานยนต์ใต้น้ำแบบมีสายเพื่อใช้งานด้านสิ่งแวดล้อม  โดยโครงการความร่วมมือกับ ปตท. สผ. และ เครือข่ายวิจัยพัฒนา ประดอบด้วย ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

เป้าหมายเพื่อเพิ่มสมรรถนะของยานด้วยการพัฒนาระบบโซนาร์หรือเครื่องส่งคลื่นเสียงที่มีความถี่สูง เพื่อสำรวจสิ่งกีดขวางใต้น้ำ  มีระบบควบคุมเสถียรภาพเพื่อให้ยานยนต์ทำงานอย่างสมดุล มีระบบกล้องบันทึกภาพนิ่ง และกล้องบันทึกวีดีโอความละเอียดสูงและระบบสื่อสารกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมบนเรือ  จากการทดสอบการทำงานในทะเลจริงสามารถทำงานได้ที่ระดับความลึก  60 เมตร สามารถทำงานได้นาน  5 ชั่วโมงโดยการเก็บภาพแบบต่อเนื่อง

สอบถามรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/CASMETH/

โครงการวิจัยพัฒนายานใต้น้ำไร้คนขับเพื่อตรวจสอบแผงผลิตไฟฟ้าลอยน้ำ

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: เทคโนโลยีพลังงาน
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL7 การสาธิตในภาคสนามที่สอดคล้องกับสภาพการใช้งานในสถานการณ์จริง
RESEARCHER TEAM: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รามิล เกศวรกุล

TECHNOLOGY OVERVIEW

ออกแบบและสร้างยานใต้น้ำ (UUV) ที่สามารถตรวจสอบสภาพแผงผลิตไฟฟ้าได้

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

นักวิจัยมีเป้าหมายนำระบบเพื่อให้บริการในลักษณะห้องทดสอบ โดยเน้นการออกแบบเพื่อการใช้งานในแต่ละครั้งให้ตรงตามโจทย์ (Made-to-order)

อุปกรณ์จัดเก็บพลังงานสะอาดด้วย เซลล์เชื้อเพลิงแบบเมมเบรนแลก เปลี่ยนโปรตรอนชนิดพกพา

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: เทคโนโลยีพลังงาน
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL5 องค์ประกอบที่สำคัญได้ถูกสาธิตในห้องปฏิบัติการแล้ว
RESEARCHER TEAM: รองศาสตราจารย์ ดร.รังสิมา หญีตสอน

TECHNOLOGY OVERVIEW

กลุ่มวิจัยทางด้านพลังงานและวัสดุสำหรับใช้เพื่อสร้างเทคโนโลยีด้านพลังงาน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่งานวิจัยทางด้านพลังงานโดยมีการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง 2ชนิด ได้แก่ เซลล์เชื้อเพลิงชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน (Proton exchange membrane fuel cell, PEMFC) และ เซลล์เชื้อเพลิงเมทานอลแบบป้อนตรง (Direct methanol fuel cell, DMFC) และ โฟลว์แบตเตอรี่ 2 ชนิด ได้แก่ วาเนเดียมแบตเตอรี่ชนิดรีดอกซ์โฟลว์(Vanadium redox battery) และ พอลิซัลไฟด์5-โบรมีนแบตเตอรี่ชนิดรีดอกซ์โฟลว์(Sodium polysulfide bromine flow battery) การศึกษาเริ่มตั้งแต่การสร้างต้นแบบ การพัฒนาระบบการหาสภาวะการทำงานที่เหมาะสม และต่อยอดเพื่อไปใช้งานจริง ตัวอย่างงานที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ได้แก่ อุปกรณ์กักเก็บพลังงานสะอาดด้วยเซลล์เชื้อเพลิงแบบเมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตรอนชนิดพกพา โดยมีการแบ่งการพัฒนาต้นแบบออกเป็น 4 ส่วนย่อยคือ การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงต้นแบบ (PEMFC system) การพัฒนาระบบ การผลิตและจ่ายไฮโดรเจน (Hydrogen electrolyzer) การบูรณาการทุกระบบและหาสภาวะการทำงานที่เหมาะสมที่สุด(Integration and optimization) และการวางแผนการผลิตให้มีเสถียรภาพประสิทธิภาพรวมถึงลดต้นทุนการผลิต (Scale up for commercialization)

ส่วนที่ 2 งานวิจัยทางด้านวัสดุโดยมีการศึกษาวัสดุสำหรับใช้ในเทคโนโลยีด้านพลังงาน เช่น แผ่นนำไฟฟ้าสองขั้ว (Bipolar plates) อิเล็กโทรด (Electrode) และ ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) ซึ่งมีการพัฒนาและนำมาทดสอบกับเทคโนโลยีด้านพลังงาน และมีการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรในวัสดุที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้งานในส่วนวัสดุยังมีการทำงานวิจัยด้าน กระบวนการขึ้นรูปพอลิเมอร์ (Polymer processing) เช่น การออกสูตร การแก้ปัญหาในกระบวนการขึ้นรูป และการรับทดสอบสมบัติของวัสดุ ตัวอย่างงานที่เคยทำ ได้แก่การออกสูตรการผลิตเสื่อน้ำมันที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลโดยขึ้นรูปผ่านกระบวนการขึ้นรูปด้วยเครื่องคาเลนเดอร์ (Calendaring) การผลิตวัสดุนำความร้อนผ่านผิวสัมผัส (Thermal interface materials) จากยางรีไซเคิล การแก้ปัญหากระบวนการขึ้นรูปพลาสติกแบบ Blow molding and injection blow molding และการทดสอบสมบัติรีโอโลจีของตัวอย่างแชมพู การทดสอบค่าการนำไฟฟ้าของแผ่นฟิล์มและการทดสอบสมบัติที่ต้องการตาม MSDS ของสารดับกลิ่นยางมะตอย

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

นักวิจัยมีเป้าหมายนำระบบเพื่อให้บริการในลักษณะห้องทดสอบ โดยเน้นการออกแบบเพื่อการใช้งานในแต่ละครั้งให้ตรงตามโจทย์ (Made-to-order)

NEWS

Researchers
0
Papers
0
Proposals
0
Intellectual Property
0

“Supporting and promoting
research and innovation
globally through interdisciplinary
approaches at KMUTNB"

Assoc.Prof.Dr.Kampanart Theinnoi

Director of STRI