Science and Technology Research Institute (STRI)
We are the central hub for coordinating research activities both within and outside the university. Our mission includes supporting, promoting, and disseminating university research, as well as managing intellectual property assets.
About Us

SERVICES

We provide sincere service, coordinate research both within and outside the university, disseminate research findings, offer intellectual property consultation, commercialize research outcomes, and foster new entrepreneurs

Highlight Research and Innovation

อุปกรณ์ขับไล่นกด้วยความถี่อัลตราโซนิคและไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูง

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: อิเล็กทรอนิกส์
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL6 การทดสอบในสภาวะเลียนแบบใกล้เคียงสภาวะจริงแล้วได้ผลตามที่คาดหวัง
RESEARCHER TEAM: อาจารย์วิทยากรณ์ บ่อชน

TECHNOLOGY OVERVIEW

เป็นการพัฒนาและต่อยอดอุปกรณ์ขับไล่นกพิราบในรูปแบบเดิมที่เคยมีผู้คิดค้นและผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายทางการค้าแล้วในปัจจุบันแต่ยังมีข้อบกพร่องหลายประการโดยใช้เทคนิควิธีใหม่ที่ยังไม่เคยมีผู้คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้น นั่นคือการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูง (High voltage direct current) ด้วยวิธีการของวงจรเรียงกระแสชนิดเต็มคลื่นแบบบริดจ์ วงจรอินเวอร์เตอร์ และวงจรทวีแรงดัน ใช้คุณสมบัติทางไฟฟ้าของวงจรดังกล่าวมาต่อรวมกันเพื่อประกอบขึ้นเป็นวงจรรวมที่มีแรงดันไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งพันโวลต์ เพื่อนำไปใช้ในการขับไล่นกพิราบและนกกระจอกตามสถานที่ต่างๆ เช่น บ้าน โรงเรียน โรงงาน โรงอาหาร หรือสถานที่อื่น ๆ

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

นักวิจัยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังภาคเอกชนในลักษณะการขายอนุสิทธิบัตรในการใช้งานเชิงพาณิชย์

เส้นพาสต้าอบแห้งเสริมคุณค่าจากแป้งมันเทศสีม่วง

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: วิทยาศาสตร์การอาหาร
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL4 องค์ประกอบที่สำคัญได้ถูกสาธิตในระดับห้องปฏิบัติการแล้ว
RESEARCHER TEAM: รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนี เจริญ

TECHNOLOGY OVERVIEW

ผลิตภัณฑ์เป็นอาหารฟังก์ชั่นจากการลดใช้แป้งสาลีในการผลิตเส้นพาสต้าโดยการทดแทนด้วยแป้งมันม่วง โดยจะคงลักษณะที่ดีของเส้นพาสต้าแต่มีส่วนของฟังก์ชั่นการต่อต้านอนุมูลอิสระเพิ่มสูงขึ้น ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำลง และสีของเส้นพาต้าเป็นสีม่วงอ่อน

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

ผลิตภัณฑ์เป็นเส้นพาต้าม่วงอ่อนที่มีฟังก์ชั่นของการต่อต้านอนุมูลอิสระเพิ่มสูงขึ้นและมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำลง

ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอิมัลชันผสมรำข้าว

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: วิทยาศาสตร์การอาหาร
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL3 เป็นการพิสูจน์หรือตรวจสอบแนวคิดโจทย์วิจัยที่ตั้งไว้
RESEARCHER TEAM: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกตินันท์ กิตติพงศ์พิทยา

TECHNOLOGY OVERVIEW

ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอิมัลชันผสมรำข้าว

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

นักวิจัยมีเป้าหมายในการใช้งานในระดับห้องปฏิบัติงานเพื่อขายสูตรให้กับผู้ประกอบการเพื่อนำไปผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป

แมงกะพรุนฟรีซดราย รสซอสน้ำมัน งา (KURAGE)

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: วิทยาศาสตร์การอาหาร
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL7 ผลของการพัฒนาขั้นสุดท้ายได้ถูกสาธิตในสภาวะการทำงานแล้ว
RESEARCHER TEAM: รองศาสตราจารย์ ดร. เบญจวรรณ ธรรมธนารักษ์

TECHNOLOGY OVERVIEW

ผลิตภัณฑ์เป็นแมงกะพรุนแห้งกรอบพร้อมบริโภคด้วยกระบวนการแปรรูปและการทำฟรีซดรายในระดับอุตสาหกรรม

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

การผลิตขนมทานเล่นที่เป็นแมงกะพรุนแห้งกรอบพร้อมบริโภค

ยานขับเคลื่อนใต้น้ำชนิดใช้สายควบคุม (ROV)

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL9 เทคโนโลยีที่พร้อมส่งมอบไปสู่การใช้งานจริง จนสามารถทดสอบการใช้งานและ การติดตามผลการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
RESEARCHER TEAM: ดร.สว่างทิตย์ ศรีกิจสุวรรณ

TECHNOLOGY OVERVIEW

ครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการวิจัยและพัฒนายานยนต์ใต้น้ำแบบมีสายเพื่อใช้งานด้านสิ่งแวดล้อม  โดยโครงการความร่วมมือกับ ปตท. สผ. และ เครือข่ายวิจัยพัฒนา ประดอบด้วย ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

เป้าหมายเพื่อเพิ่มสมรรถนะของยานด้วยการพัฒนาระบบโซนาร์หรือเครื่องส่งคลื่นเสียงที่มีความถี่สูง เพื่อสำรวจสิ่งกีดขวางใต้น้ำ  มีระบบควบคุมเสถียรภาพเพื่อให้ยานยนต์ทำงานอย่างสมดุล มีระบบกล้องบันทึกภาพนิ่ง และกล้องบันทึกวีดีโอความละเอียดสูงและระบบสื่อสารกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมบนเรือ  จากการทดสอบการทำงานในทะเลจริงสามารถทำงานได้ที่ระดับความลึก  60 เมตร สามารถทำงานได้นาน  5 ชั่วโมงโดยการเก็บภาพแบบต่อเนื่อง

สอบถามรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/CASMETH/

ดาวเทียม KnackSat

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: เทคโนโลยีการสื่อสาร
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL9 เทคโนโลยีที่พร้อมส่งมอบไปสู่การใช้งานจริง จนสามารถทดสอบการใช้งานและ การติดตามผลการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
RESEARCHER TEAM: ศาสตราจารย์ ดร. สุวัฒน์ กุลธนปรีดา

TECHNOLOGY OVERVIEW

KnackSat  อ่านว่า แนคแซท (ย่อมาจาก KMUTNB Academic Challenge of Knowledge SATellite) ดาวเทียมฝีมือคนไทยทั้งหมดดวงแรก เป็นดาวเทียมรูปแบบคิวแซท (CubeSat) ที่ออกแบบและพัฒนาโดยทีมนักศึกษาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ดาวเทียมใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่น (Call sign: HS0K, Downlink Freq: 435.635 MHz) เพื่อการสื่อสารระหว่างสถานีดาวเทียมกับสถานีภาคพื้นดิน โครงการแนคแซทได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

วัตถุประสงค์ดั้งเดิมของโครงการแนคแซทสามารถแบ่งออกเป็นวัตถุประสงค์ด้านการศึกษาและวัตถุประสงค์ในการสาธิตเทคโนโลยี โดยวัตถุประสงค์ทางการศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาศักยะภาพและประสบการณ์ในการออกแบบและสร้างดาวเทียมจริงให้กับบุคคลากรของประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญสำหรับการออกแบบและสร้างดาวเทียมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นต่อไปในประเทศ ตลอดจนโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชนไทย ซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศในอนาคต ในส่วนของวัตถุประสงค์ในการสาธิตเทคโนโลยีนั้น พันธะกิจหลักของดาวเทียมแนคแซท คือ (1) พัฒนาระบบสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่วิทยุ (2) ถ่ายภาพจากอวกาศ (3) ทดสอบอัลกอริทึมการควบคุมการทรงตัวของดาวเทียมโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (4) การตรวจสอบเทคโนโลยี deorbit และ (5) ยืนยันการใช้อุปกรณ์ Off-The-Shelf ในอวกาศ โครงการนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความสามารถและมีเทคโนโลยีในการสร้างดาวเทียมของตัวเอง นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยด้วย

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

แนคแซทเป็นดาวเทียมรูปแบบ 1-Unit CubeSat มีขนาด 10 เซนติเมตร x 10 เซนติเมตร x 11.4 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 1.052 กิโลกรัม ดาวเทียมแนคแซทถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 18:34 UTC (ตรงกับวันที่ 4 ธันวาคม 2561 เวลา 01:34 น. ตามเวลาในประเทศไทย) จากฐานทัพอากาศ Vandenberg ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้มิชชั่น SSO-A ด้วยจรวด SpaceX Falcon 9 และถูกปล่อยออกจากอุปกรณ์ปล่อยดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรประเภท Sun-Synchronous Orbit ที่ระดับความสูง 575 กิโลเมตร เมื่อเวลา 22:49:57 UTC (ตรงกับเวลา 05:49:57 น. ตามเวลาในประเทศไทย) โดยสัญญาณแรกจากดาวเทียมแนคแซทถูกตรวจจับได้โดยนักวิทยุสมัครเล่นชื่อ Mike Rupprecht (dk3wn) ในวันที่ 4 ธันวาคม 2561 เวลา 09:04 UTC (ตรงกับเวลา 14:04 น. ตามเวลาในประเทศไทย) เป็นการยืนยันว่าดาวเทียมได้เริ่มทำงานในอวกาศแล้ว

สัญญาณจากดาวเทียมแนคแซทถูกรับได้อีกในวันที่ 5 และ 7 ธ.ค. 2561 โดยนักวิทยุสมัครเล่นชื่อ Fatc Mubin หลังจากนั้น สัญญาณได้ขาดหายไป ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่า อาจเกิดความเสียหายกับระบบไฟฟ้ากำลังบนตัวดาวเทียม ทั้งนี้ ดาวเทียมยังคงโคจรต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 6 ปี โดยระดับความสูงของวงโคจรจะลดลงอย่างช้าๆ และเมื่อเข้าสู่ชั้นบรรยกาศ ดาวเทียมจะเสียดสีและเผาไหม้จนหมดไปในที่สุด

    

ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอิมัลชันผสมรำข้าว

ดาวเทียม KnackSat

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหยวกกล้วย

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: วิทยาศาสตร์การอาหาร
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL4 มีต้นแบบ ทดสอบความพึงพอใจเบื้องต้น
RESEARCHER TEAM: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีเวียง ฤทธิศักดิ์

TECHNOLOGY OVERVIEW

เป็นการนำหยวกกล้วยมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น น้ำหยวกกล้วยพาสเจอไรส์ เยลลี่พร้อมดื่มจากน้ำหยวกกล้วยผสมน้ำสับปะรดและกากสับปะรด

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

รถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติไร้คนขับ

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry’s

โครงการวิจัยพัฒนายานใต้น้ำไร้คนขับเพื่อตรวจสอบแผงผลิตไฟฟ้าลอยน้ำ

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: เทคโนโลยีพลังงาน
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL7 การสาธิตในภาคสนามที่สอดคล้องกับสภาพการใช้งานในสถานการณ์จริง
RESEARCHER TEAM: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รามิล เกศวรกุล

TECHNOLOGY OVERVIEW

ออกแบบและสร้างยานใต้น้ำ (UUV) ที่สามารถตรวจสอบสภาพแผงผลิตไฟฟ้าได้

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

นักวิจัยมีเป้าหมายนำระบบเพื่อให้บริการในลักษณะห้องทดสอบ โดยเน้นการออกแบบเพื่อการใช้งานในแต่ละครั้งให้ตรงตามโจทย์ (Made-to-order)

การผลิตสารเบต้าคริปโตแซนทินโดยกระบวนการทางชีวภาพ

KEY INFORMATION

TECHNOLOGY CATEGORY: วิทยาศาสตร์การอาหาร
TECHNOLOGY READINESS LEVEL (TRL): TRL3 เป็นการพิสูจน์หรือตรวจสอบแนวคิดโจทย์วิจัยที่ตั้งไว้
RESEARCHER TEAM: ศาสตราจารย์ ดร. วิไล รังสาดทอง

TECHNOLOGY OVERVIEW

เบต้าคริปโตแซนทิน (β-cryptpxanthin) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ชนิดแซนโทฟิลล์ พบได้ทั้งในพืชเชื้อจุลินทรีย์และสาหร่ายจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  แต่มีปริมาณที่พบมีไม่สูงเท่าเบต้าแคโรทีน ในปัจจุบันพบว่าเริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับเบต้าคริปโตแซนทินมากขึ้น เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขร่างกายอย่างมาก การผลิตด้วยกระบวนการทางชีวภาพโดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ สาหร่ายหรือเอนไซม์ มีข้อได้เปรียบมากกว่าการผลิตหรือสกัดจากพืช ในแง่ของการควบคุมสภาวะการผลิตเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและปริมาณสูงที่สุด  รวมถึงการเพิ่มหรือลดขนาดการผลิตก็สามารถทำได้ง่ายกว่าการสกัดจากพืช  ดังนั้นโครงการนี้เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการผลิตสารเบต้าคริปโตแซนทินด้วยกระบวนการทางชีวภาพ

TECHNOLOGY FEATURES & SPECIFICATIONS

นักวิจัยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณลักษณะของสารเบต้าคริปโตแซนทินเพื่อให้ได้ปริมาณสูงสุด ภายใต้โครงการวิจัยทั้งนี้ยังไม่มีการประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์

NEWS

Researchers
0
Papers
0
Proposals
0
Intellectual Property
0

“Supporting and promoting
research and innovation
globally through interdisciplinary
approaches at KMUTNB"

Assoc.Prof.Dr.Kampanart Theinnoi

Director of STRI