7 นักวิจัย มจพ. ติดอันดับ World’s TOP 2% Scientists 2022

ฮิต: 940

7 นักวิจัย มจพ. ติดอันดับ World’s TOP 2% Scientists 2022

  

7 นักวิจัย มจพ. ติดอันดับใน World’s TOP 2% Scientists by Stanford University 2022 ทั้ง 2 ประเภท คือ ประเภทข้อมูลตลอดชีวิตการทำงานของนักวิจัย (Career-long Citation Impact) และประเภทข้อมูล 1 ปีล่าสุด (Single Year Citation Impact) โดยคำนวนข้อมูลจาก ผลงานตีพิมพ์ จำนวนการอ้างอิง และ h-index ในฐานข้อมูล Scopus ถึงวันสุดท้ายของปี ค.ศ. 2021

ขอแสดงความยินดีกับ 7 นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ที่ได้รับการจัดอันดับใน World’s TOP 2% Scientists by Stanford University 2022 การจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ 2% แรกของโลก ปี 2022 โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา (Stanford University, USA)  ซึ่งรวบรวมข้อมูลผลงานของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำมากกว่า 200,000 คน ประกอบด้วยข้อมูลผลงานตีพิมพ์ จำนวนการอ้างอิง และ h-index ในฐานข้อมูล Scopus แบ่งเป็นข้อมูลตลอดชีวิตการทำงานของนักวิจัย (Career-long Citation Impact) และข้อมูล 1 ปีล่าสุด (Single Year Citation Impact) โดยจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 22 สาขาและ 176 สาขาย่อย  โดยข้อมูลปี 2022 ที่เผยแพร่นี้เป็นข้อมูลที่รวบรวมจากฐานข้อมูล Scopus วันที่ 1 กันยายน 2021

 

 4 นักวิจัย มจพ. ในการจัดอันดับ Career-Long Citation Impact 2022 หรือ นักวิจัยที่มีการอ้างอิงตลอดชีวิตการทำงานสูงที่สุด นับถึงวันสุดท้ายของปี ค.ศ. 2021 โดยเป็นนักวิจัยไทยทั้งหมด 223 คน จากนักวิจัยทั่วโลก 195,605 คน

1. ศาสตราจารย์ ดร.ปฏิพัทธ์  ทวนทอง (Thounthong, Phatiphat)
ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
อันดับที่ 42 ของไทย และอันดับที่ 102,237 ของโลก 
*อันดับที่ 1 ของไทย ในสาขา Electrical & Electronic Engineering

2. ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ  เซี่ยงฉิน (Siengchin, Suchart)
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและกระบวนการ
บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน
อันดับที่ 123 ของไทย และอันดับที่ 157,797 ของโลก
อันดับที่ 4 ของไทย ในสาขา Materials

3. รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี  ศิริปรัชญานันท์ (Siripruchyanun, Montree)
ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
อันดับที่ 186 ของไทย และอันดับที่ 184,503 ของโลก
อันดับที่ 2 ของไทย ในสาขา Networking & Telecommunications

4. Assoc. Prof. Dr. Sanjay M. Rangappa (Rangappa, Sanjay Mavinkere)
สำนักงานอธิการบดี
อันดับที่ 216 ของไทย และอันดับที่ 191,834 ของโลก
อันดับที่ 15 ของไทย ในสาขา Materials

—---------------------------------------------------------------------

 

6 นักวิจัย มจพ. ในการจัดอันดับ Single Year Citation Impact 2022 หรือ นักวิจัยที่มีการอ้างอิงตลอดปี ค.ศ. 2021 สูงที่สุด ซึ่งเป็นนักวิจัยไทยทั้งหมด 307 คน จากนักวิจัยทั่วโลก 200,409 คน

 

1. ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ  เซี่ยงฉิน (Siengchin, Suchart)
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและกระบวนการ
บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน
อันดับที่ 16 ของไทย และอันดับที่ 29,484 ของโลก
*อันดับที่ 1 ของไทย ในสาขา Materials

2. Assoc. Prof. Dr. Sanjay M. Rangappa (Rangappa, Sanjay Mavinkere)
สำนักงานอธิการบดี
อันดับที่ 22 ของไทย และอันดับที่ 32,257 ของโลก
อันดับที่ 2 ของไทย ในสาขา Materials

3. ศาสตราจารย์ ดร.ปฏิพัทธ์  ทวนทอง (Thounthong, Phatiphat)
ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
อันดับที่ 43 ของไทย และอันดับที่ 59,372 ของโลก
*อันดับที่ 1 ของไทย ในสาขา  Electrical & Electronic Engineering

4. ศาสตราจารย์ ดร.ปิติ  สุคนธสุขกุล (Sukontasukkul, Piti)
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
อันดับที่ 45 ของไทย  และอันดับที่ 60,811 ของโลก
อันดับที่ 4 ของไทย ในสาขา Building & Construction

5. ศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา ธารีบุญ (Tariboon, Jessada)
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
อันดับที่ 129 ของไทย  และอันดับที่ 132,660 ของโลก
อันดับที่ 7 ของไทย ในสาขา General Mathematics

6. Mr. Vinod Ayyappan (Vinod, A.)
บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน
อันดับที่ 255 ของไทย  และอันดับที่ 185,657 ของโลก
อันดับที่ 6 ของไทย ในสาขา Materials

อ้างอิงข้อมูลจาก : John P.A. Ioannidis, September 2022 data-update for "Updated science-wide author databases of standardized citation indicators", 10 October 2022|Version 4|DOI:10.17632/btchxktzyw.4 https://elsevier.digitalcommonsdata.com/datasets/btchxktzyw/4

 

ดูการจัดอันดับนักวิจัย มจพ.

 

ดูการจัดอันดับนักวิจัยไทย