ประกาศ!!!....เปิดรับข้อเสนอโครงการ Talent Mobility ประจำปีงบประมาณ 2565
-
ฮิต: 1237
Talent Mobility
ตามที่ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากสถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยของภาครัฐปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility) เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา ควบคู่ไปกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจึงขอเปิดรับข้อเสนอโครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม ผ่านกลไกการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของสถาบันอุดมศึกษานักศึกษา และบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม
ในการนี้ ท่านสามารถส่งเอกสารได้ ภายในวันที่ 14 25 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีรายละเอียดการดำเนินโครงการดังนี้
1.หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ
1.1 กิจกรรมของสถานประกอบการที่รองรับการปฏิบัติงานของนักวิจัย ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้
· การวิจัยและพัฒนา
· การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคและวิศวกรรม
· การวิเคราะห์ทดสอบและระบบมาตรฐาน
· การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
1.2 นักวิจัยต้องไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี และต้องมีหน่วยงานต้นสังกัดเป็นมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันวิจัยของรัฐ
· หน่วยงานต้นสังกัด
มหาวิทยาลัยของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยของภาครัฐ ที่มีภารกิจ/หน้าที่วิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมีนักวิจัย งานวิจัยภายในหน่วยงาน
· นักวิจัย*
มีความรู้ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานต้นสังกัดสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่มวิจัย ทั้งนี้อาจนำนักศึกษามาร่วมปฏิบัติงานในโครงการได้
1.3 สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย ได้แก่ บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนจำกัด มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน และเครือข่ายวิสาหกิจ
*ทั้งนี้ นักวิจัย จะต้องเป็นไปตามระเบียบ มจพ. ว่าด้วย การให้คณาจารย์ไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันในภาคเอกชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564
2.วัตถุประสงค์
· เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่ภาคอุตสาหกรรม
· เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับภาคอุตสาหกรรม
· เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ของอาจารย์/นักวิจัยกับภาคอุตสาหกรรรม
3. งบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ค่าตอบแทน สำหรับอาจารย์ นักวิจัย จำนวนไม่เกิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้
3.1 ค่าตอบแทนสำหรับอาจารย์/นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา วงเงินไม่เกิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ดังนี้
- ค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งอาจารย์ ในอัตรา 4,000 บาท/วันทำการ หรือ
- ค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในอัตรา 5,000 บาท/วันทำการ หรือ
- ค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป ในอัตรา 6,000 บาท/วันทำการ
3.2 ค่าตอบแทนสำหรับนักศึกษา วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ดังนี้
- ค่าตอบแทนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในอัตรา 400 บาท/วันทำการ หรือ
- ค่าตอบแทนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท ในอัตรา 500 บาท/วันทำการ หรือ
- ค่าตอบแทนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก ในอัตรา 600 บาท/วันทำการ
3.3 ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น ค่าจ้างวิเคราะห์และทดสอบ ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ เป็นต้น
ตามระเบียบของสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงการจัดซื้อครุภัณฑ์ทั้งนี้ วงเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เมื่อรวมกับข้อ 3.1 และข้อ 3.2 แล้ว ต้องไม่เกินวงเงินรวมของโครงการ
4.ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ
· หน่วยงานต้นสังกัด
ได้รับค่าชดเชยเพื่อหาบุคลากรปฏิบัติงานทดแทนจากสถานประกอบการใน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในกรณีที่นักวิจัยเข้าไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่เป็น SMEs
· นักวิจัย
ได้ผลงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสามารถนำไปใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์เมื่อนักวิจัยเข้าไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ จะได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง สวัสดิการตามปกติจากหน่วยงานต้นสังกัดและค่าตอบแทนนักวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นอกจากนี้ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นสามารถนำไปใช้ในการประเมินผลงานได้
· สถานประกอบการ
ได้นำงานวิจัยมาช่วยเพิ่มคุณภาพหรือลดต้นทุนการผลิต สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นรวมถึงการเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
5. การส่งข้อเสนอโครงการ Talent Mobility ประจำปีงบประมาณ 2565
นักวิจัยจัดส่งเอกสารโดยมีบันทึกข้อความผ่านทางต้นสังกัด เมื่อเอกสารลงนามครบแล้วให้สแกนเอกสารและเอกสารแนบในข้อ 1-7 ส่งเป็นไฟล์ MS word/pdf มาที่ Suriyapong.k@stri.kmutnb.ac.th แล้วส่งเอกสารต้นฉบับมาที่ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ ภายในวันที่ 14 25 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีเอกสารสำหรับเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
5.1 หนังสือรับรองจากบริษัทอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ที่ประกอบไปด้วยสาระสำคัญ ได้แก่ โจทย์และปัญหาความต้องการที่ต้องการให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา ความพร้อมในการร่วมสนับสนุนทั้งในลักษณะที่ตัวเงิน (in cash) และลักษณะที่ไม่เป็นตัวเงิน (in kind) ตลอดจนแผนในการนำผลที่ได้รับจากการดำเนินการไปขยายผลและดำเนินการต่อหลังจากสิ้นสุดโครงการ จำนวน 1 ฉบับ (แนบไฟล์ pdf)
5.2 แบบเสนอโครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม(Talent Mobility) ประจำปีงบประมาณ 2565 และเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องฉบับจริง จำนวน 5 เล่ม (แนบไฟล์ MS word และ pdf)
5.3 บันทึกการนำเสนอ (Presentation) รายละเอียดของโครงการในรูปแบบวีดีทัศน์ความยาวไม่เกิน 5 นาที บันทึกลง Flash Drive หรือ DVD จำนวน 1 ชุด
5.4 ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ Talent Mobility (ผู้ประกอบการ) จำนวน 1 ชุด (แนบไฟล์ MS word และ pdf)
5.5 ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ Talent Mobility (บุคลากร) จำนวน 1 ชุด (แนบไฟล์ MS word และ pdf)
5.6 ประวัติอาจารย์/นักวิจัย/ ที่เข้าร่วมโครงการ (CV) (กรอกข้อมูลได้ที่เวปไซด์ https://www.research.kmutnb.ac.th/cms/researcher/) จำนวน 1 ชุด (แนบไฟล์ pdf)
5.7 หนังสือรับรองนิติบุคคลและหนังสือสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ชุด (แนบไฟล์ pdf)
6.ติดต่อสอบถาม
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 1506
โทรสาร 0-2556-1306
Email : suriyapong.k@stri.kmutnb.ac.th
Website : talent.kmutnb.ac.th