ขยายเวลา...การรับข้อเสนอโครงการ ประกอบการยื่นคำของบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประเภทงานมูลฐาน (Fundamental Fund: FF) ประจำปีงบประมาณ 2567
-
ฮิต: 1996
ประกาศรับข้อเสนอโครงการ
ประกอบการยื่นคำของบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)
ประเภทงานมูลฐาน (Fundamental Fund: FF) ประจำปีงบประมาณ 2567
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ขอเชิญคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประเภทงานมูลฐาน (Fundamental Fund: FF) ภายใต้แผนปฏิบัติการด้าน ววน. ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2567 รายละเอียดดังนี้
กรอบวิจัย (Research Framework)
Goal มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นมหาวิทยาลัยที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทย |
||||||||||
University Mission |
||||||||||
วิจัยเพื่อความเป็นเลิศเชิงวิชาการ |
วิจัยเพื่อความเป็นเลิศ |
วิจัยเพื่อความเป็นเลิศเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ชุมชน และสังคม |
||||||||
Impact ผลิตภาพและศักยภาพพื้นฐานนวัตกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศที่ยั่งยืน |
||||||||||
Research Mission |
||||||||||
|
||||||||||
|
AI & Robotic เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ |
|
BCG การแพทย์และสุขภาพ เกษตรและอาหาร การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ |
|
พัฒนานักวิทยาศาสตร์ และนวัตกร |
|
สังคมสูงวัย สังคมคาร์บอนต่ำ เมืองน่าอยู่ |
|
||
|
||||||||||
|
ระบบรางและโลจิสติกส์ ยานยนต์สมัยใหม่ |
|
ดาวเทียม อุตสาหกรรมอวกาศ |
|
วิกฤติเร่งด่วนของประเทศ Covid-19 การบริหารจัดการน้ำ |
|
||||
|
||||||||||
ลักษณะข้อเสนอโครงการ
โครงการที่ขอรับงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประเภทงานมูลฐาน (Fundamental Fund: FF) จะต้องเป็นโครงการที่ครอบคลุมการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ในสหสาขา
การพัฒนานวัตกรรม หรือการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง โดยสอดคล้องกับกรอบวิจัย (Research Framework) ของมหาวิทยาลัย และสามารถแสดงศักยภาพในการขยายผลหรือต่อยอดสู่งานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund: SF) ได้ในอนาคต
ขอบเขตของโครงการที่เปิดรับ
1. การวิจัยพื้นฐานเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง
เกณฑ์ |
ประเภทโครงการ |
||
นักวิจัยทั่วไป |
นักวิจัยแกนนำ |
|
|
1. ลักษณะโครงการ |
โครงการเดี่ยว |
โครงการเดี่ยว โดยต้องมีผู้ร่วมวิจัยในโครงการ ซึ่งเป็นบุคลากรของ มจพ. อีกอย่างน้อย 2 คน |
|
2. ระยะเวลาโครงการ |
ไม่เกิน 1 ปี (หากเป็นโครงการต่อเนื่องจะพิจารณางบประมาณเฉพาะปีที่ยื่นขอเท่านั้น) |
ไม่เกิน 1 ปี (หากเป็นโครงการต่อเนื่องจะพิจารณางบประมาณเฉพาะปีที่ยื่นขอเท่านั้น) |
|
3. เป้าประสงค์ |
วิจัยเพื่อความเป็นเลิศเชิงวิชาการ |
วิจัยเพื่อความเป็นเลิศเชิงวิชาการ |
|
4. ตัวชี้วัดเป้าหมาย |
จำนวนบทความวิจัย (Research article) หรือบทความจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (Proceedings) ที่อยู่ในฐานข้อมูล SCIE หรือ Scopus |
จำนวนบทความวิจัย (Research article) ที่อยู่ในฐานข้อมูล SCIE หรือ Scopus |
|
5. ค่าเป้าหมายผลผลิต |
(1) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่จัดอยู่ในกลุ่มอันดับสูงสุดร้อยละสิบ (Top 10% หรือ Tier 1) ของสาขานั้นโดยใช้ข้อมูลจาก SJR จำนวน 1 บทความ ต่องบประมาณ 500,000 บาท หรือ (2) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่จัดอยู่ในควอไทล์ 1 หรือ 2 (Q1 หรือ Q2) จำนวน 1 บทความ ต่องบประมาณ 250,000 บาท หรือ (3) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่จัดอยู่ในควอไทล์ 3 หรือ 4 (Q3 หรือ Q4) จำนวน 1 บทความ ต่องบประมาณ 150,000 บาท หรือ (4) บทความวิจัยจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (Proceedings) ที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus จำนวน 2 บทความ ต่องบประมาณ 150,000 บาท ** 1 บทความ สามารถใช้ปิดโครงการต่อ 1 โครงการเท่านั้น และไม่สามารถใช้บทความปิดทุนร่วมกับทุนวิจัยจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย หรือทุนงบประมาณด้าน ววน. โครงการอื่น ** |
(1) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่จัดอยู่ในกลุ่มอันดับสูงสุดร้อยละสิบ (Top 10% หรือ Tier 1) ของสาขานั้นโดยใช้ข้อมูลจาก SJR หรือ บทความปริทัศน์ (Review paper) ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่จัดอยู่ในควอไทล์ 1 (Q1) จำนวน 1 บทความ และ (2) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่จัดอยู่ในควอไทล์ (3) การพัฒนากำลังคน ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัยรุ่นใหม่ หรือการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการของผู้ร่วมวิจัยในโครงการ
** 1 บทความ สามารถใช้ปิดโครงการต่อ 1 โครงการเท่านั้น และไม่สามารถใช้บทความปิดทุนร่วมกับทุนวิจัยจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย หรือทุนงบประมาณด้าน ววน. โครงการอื่น ** |
|
6. คุณสมบัติของหัวหน้าโครงการ |
(1) เป็นบุคลากรมหาวิทยาลัย หรือบุคลากรที่มีสัญญาจ้าง 9 เดือนขึ้นไป และไม่อยู่ระหว่างการได้รับอนุมัติการลาศึกษาต่อทั้งกรณีการลาศึกษาต่อบางส่วนและการลาศึกษาต่อเต็มเวลา (2) ต้องไม่ติดค้างการปิดโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย และเงินงบประมาณแผ่นดิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 ลงไป (3) หัวหน้าโครงการจะต้องมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล Science Citation Index Expanded (SCI/SCIE) อย่างน้อย 2 ผลงาน ที่เป็น First author หรือ Corresponding author ภายในระยะเวลา 5 ปี ย้อนหลัง (ค.ศ. 2018-2022) (ไม่นับผลงานที่อยู่ระหว่างการศึกษาต่อ) (4) มีประสบการณ์และศักยภาพในการดำเนินงานวิจัยให้สำเร็จภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพ (5) ต้องมีรายชื่อลงทะเบียนเป็นนักวิจัยในระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) และระบบฐานข้อมูลและเว็บไซต์เพื่องานวิจัยของ มจพ. (KMUTNB Research Database) โดยต้องปรับปรุงข้อมูลประวัตินักวิจัยในระบบให้เป็นปัจจุบัน |
(1) เป็นบุคลากรมหาวิทยาลัย หรือบุคลากรที่มีสัญญาจ้าง 9 เดือนขึ้นไป และไม่อยู่ระหว่างการได้รับอนุมัติการลาศึกษาต่อทั้งกรณีการลาศึกษาต่อบางส่วนและการลาศึกษาต่อเต็มเวลา (2) ต้องไม่ติดค้างการปิดโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย และเงินงบประมาณแผ่นดิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 ลงไป (3) หัวหน้าโครงการจะต้องมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus อย่างน้อย 30 ผลงาน หรือมีค่า life-time h-index ตั้งแต่ 5 ขึ้นไป (4) มีประสบการณ์และศักยภาพในการดำเนินงานวิจัยให้สำเร็จภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพ (5) ต้องมีรายชื่อลงทะเบียนเป็นนักวิจัยในระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) และระบบฐานข้อมูลและเว็บไซต์เพื่องานวิจัยของ มจพ. (KMUTNB Research Database) โดยต้องปรับปรุงข้อมูลประวัตินักวิจัยในระบบให้เป็นปัจจุบัน |
|
7. งบประมาณต่อโครงการ |
ไม่เกิน 1,000,000 บาท |
3,000,000 บาท |
|
หมายเหตุ (1) นักวิจัยสามารถยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยประเภท “นักวิจัยแกนนำ” โดยเป็นหัวหน้าโครงการ ได้จำนวน 1 โครงการเท่านั้น
(2) กรณีโครงการวิจัยประเภท “นักวิจัยแกนนำ” ที่ต้องการนำส่งผลผลิตบทความวิจัย (Q1 หรือ Q2) มากกว่า 10 ฉบับ (มีการเสนอของบประมาณมากกว่า 3,000,000 บาทขึ้นไป) ให้พิจารณางบประมาณที่เกินมาโดย 1 บทความ มีค่าเท่ากับ 250,000 บาท และบทความต้องตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่จัดอยู่ในควอไทล์ 1 หรือ 2 (Q1 หรือ Q2) เท่านั้น
(3) วารสารวิชาการที่จัดอยู่ในกลุ่มอันดับสูงสุดร้อยละสิบ (Top 10% หรือ Tier 1) ของสาขานั้น โดยใช้ข้อมูลจาก SCImago Journal & Country Rank (SJR) - All regions/countries - ประเภทวารสาร All types
(4) การจัดควอไทล์ของวารสาร ใช้ข้อมูลจาก SCImago Journal & Country Rank (SJR) ในปีที่ส่งบทความ (submission) ใน subject category
(5) กรณีเป็นโครงการที่อยู่ในขอบข่ายโครงการวิจัยที่ต้องได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หัวหน้าโครงการจะต้องยื่นหลักฐานการผ่านการอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้วย
2. การวิจัยประยุกต์เพื่อพัฒนานวัตกรรม
เกณฑ์ |
ประเภทโครงการ |
|
Research for Innovation |
Innovation for Commercialization |
|
1. ลักษณะโครงการ |
โครงการเดี่ยว ซึ่งสนับสนุนให้นักวิจัยพัฒนาต้นแบบหรือนวัตกรรมจาก |
โครงการเดี่ยว ซึ่งเป็นหัวข้อวิจัยที่อยู่ภายใต้กรอบวิจัย 4 ด้าน ได้แก่ (1) AI & Robotic (2) BCG (3) ระบบรางและโลจิสติกส์ ยานยนต์สมัยใหม่ (4) ดาวเทียมและอุตสาหกรรมอวกาศ และเป็นโครงการที่มีระดับความพร้อม |
2. ระยะเวลาโครงการ |
ไม่เกิน 1 ปี (หากเป็นโครงการต่อเนื่องจะพิจารณางบประมาณเฉพาะปีที่ยื่นขอเท่านั้น) |
ไม่เกิน 1 ปี (หากเป็นโครงการต่อเนื่องจะพิจารณางบประมาณเฉพาะปีที่ยื่นขอเท่านั้น) |
3. เป้าประสงค์ |
(1) วิจัยเพื่อความเป็นเลิศเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรม (2) วิจัยเพื่อความเป็นเลิศเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ชุมชน และสังคม |
(1) วิจัยเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์เข้าสู่เชิงพาณิชย์หรือนำไปสู่การใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม (2) วิจัยเพื่อความเป็นเลิศเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ชุมชน และสังคม |
4. ตัวชี้วัดเป้าหมาย |
ชิ้นงานนวัตกรรมที่สร้างขึ้นจากองค์ความรู้พื้นฐานที่สะสมในมหาวิทยาลัยเพื่อต่อยอดไปสู่การสร้างต้นแบบเพื่อนำไปสู่การขอทุนการวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นท้าทายของประเทศ
|
เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่สามารถเข้าสู่เชิงพาณิชย์หรือนำไปสู่การใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม |
5. ค่าเป้าหมายผลผลิต |
(1) ชิ้นงานนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ชุมชน และสังคม ซึ่งมีระดับ TRL 4 ขึ้นไป (2) การนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัย (3) การขยายผลหรือต่อยอดผลงานนวัตกรรมสู่การขอทุนวิจัยของ หน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) หรือหน่วยบริหารจัดการแผนงานที่ กสว. กำหนด (4) การเข้าร่วมแข่งขันหรือประกวดผลงานนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัย หรือ ในเวทีระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ (5) การพัฒนากำลังคน ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือ นักนวัตกร |
(1) ชิ้นงานนวัตกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ชุมชน และสังคม ซึ่งมีระดับ TRL 6 ขึ้นไป (2) การยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (3) การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประชาคมวิจัยและภาคอุตสาหกรรม หรือ นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัย (4) การเข้าร่วมโครงการประเมินความพร้อมทางธุรกิจ หรือ ยื่นขอขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย (5) การพัฒนากำลังคน ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือ นักนวัตกร |
6. คุณสมบัติของหัวหน้าโครงการ |
(1) เป็นบุคลากรมหาวิทยาลัย หรือบุคลากรที่มีสัญญาจ้าง 9 เดือนขึ้นไป และไม่อยู่ระหว่างการได้รับอนุมัติการลาศึกษาต่อทั้งกรณีการลาศึกษาต่อบางส่วนและการลาศึกษาต่อเต็มเวลา (2) ต้องไม่ติดค้างการปิดโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย และเงินงบประมาณแผ่นดิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 ลงไป (3) หัวหน้าโครงการต้องมีองค์ความรู้พื้นฐานที่สะสมมาทั้งในรูปแบบบทความวิจัยในฐานข้อมูล Scopus หรือ TCI หรือทรัพย์สินทางปัญญา (สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร) อย่างน้อย 2 ผลงาน ภายในระยะเวลา 5 ปี ย้อนหลัง (ค.ศ. 2018-2022) ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่การสร้างชิ้นงานนวัตกรรมที่เสนอขอ หรือ เคยมีผลงานสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรม ระดับ TRL 2 ขึ้นไป (4) มีประสบการณ์และศักยภาพในการดำเนินงานวิจัยให้สำเร็จภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพ (5) ต้องมีรายชื่อลงทะเบียนเป็นนักวิจัยในระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) และระบบฐานข้อมูลและเว็บไซต์เพื่องานวิจัยของ มจพ. (KMUTNB Research Database) โดยต้องปรับปรุงข้อมูลประวัตินักวิจัยในระบบให้เป็นปัจจุบัน |
(1) เป็นบุคลากรมหาวิทยาลัย หรือบุคลากรที่มีสัญญาจ้าง 9 เดือนขึ้นไป และไม่อยู่ระหว่างการได้รับอนุมัติการลาศึกษาต่อทั้งกรณีการลาศึกษาต่อบางส่วนและการลาศึกษาต่อเต็มเวลา (2) ต้องไม่ติดค้างการปิดโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย และเงินงบประมาณแผ่นดิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 ลงไป (3) หัวหน้าโครงการต้องมีองค์ความรู้พื้นฐานที่สะสมมาทั้งในรูปแบบบทความวิจัยหรือทรัพย์สินทางปัญญา (สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร) อย่างน้อย 1 ผลงาน ภายในระยะเวลา 5 ปี ย้อนหลัง (ค.ศ. 2018-2022) ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่การสร้างชิ้นงานนวัตกรรมที่เสนอขอ หรือ เคยมีผลงานสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรม ระดับ TRL 4 ขึ้นไป (4) มีประสบการณ์และศักยภาพในการดำเนินงานวิจัยให้สำเร็จภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพ (5) ต้องมีรายชื่อลงทะเบียนเป็นนักวิจัยในระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) และระบบฐานข้อมูลและเว็บไซต์เพื่องานวิจัยของ มจพ. (KMUTNB Research Database) โดยต้องปรับปรุงข้อมูลประวัตินักวิจัยในระบบให้เป็นปัจจุบัน |
7. งบประมาณต่อโครงการ |
500,000 บาท ขึ้นไป |
1,00,000 บาท ขึ้นไป |
หมายเหตุ (1) ข้อเสนอโครงการที่อยู่ภายใต้เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัย หรือข้อเสนอโครงการที่มีผู้แจ้งความประสงค์จะใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยนี้แล้ว (โปรดแนบเอกสารแจ้งความประสงค์จะใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย) จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
(2) กรณีเป็นโครงการที่อยู่ในขอบข่ายโครงการวิจัยที่ต้องได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หัวหน้าโครงการจะต้องยื่นหลักฐานการผ่านการอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้วย
การยื่นข้อเสนอโครงการ
(1) นักวิจัยจัดทำข้อเสนอโครงการ/แผนงานตามแบบฟอร์มที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กำหนด (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ เว็บไซต์สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ https://bit.ly/3my8UFB หรือ QR Code แนบท้าย)
(2) ยื่นข้อเสนอโครงการฝ่านระบบ NRIIS (https://nriis.nrct.go.th) ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม - 5 กันยายน พ.ศ. 2565
สำนักวิจัยฯ จะดำเนินขั้นตอนการพิจารณาข้อเสนอโครงการ/แผนงาน ภายใต้กรอบวิจัยของมหาวิทยาลัย และจะแจ้งผลการพิจารณาให้นักวิจัยทราบ ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน พ.ศ. 2565 เพื่อดำเนินขั้นตอนการยื่นคำของบประมาณต่อไป
(3) พิมพ์เอกสารข้อเสนอโครงการที่กรอกในระบบ NRIIS เรียบร้อยแล้ว ออกจากระบบ NRIIS และนำส่งเอกสารข้อเสนอโครงการ (Hardcopy) พร้อมด้วยแบบฟอร์มแตกรายละเอียดงบประมาณ จำนวน 3 ชุด พร้อมบันทึกข้อความนำส่งเอกสารผ่านหน่วยงานต้นสังกัด ส่งมายังฝ่ายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565 (กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามประกาศของ สกสว.)
(4) นักวิจัยส่งไฟล์ข้อเสนอโครงการ/แผนงาน แบบฟอร์มแตกรายละเอียดงบประมาณ (ไฟล์ Excel) และแบบฟอร์มการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ยื่นขอรับทุน มายังฝ่ายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางอีเมล research.net@stri.kmutnb.ac.th ภายในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565
(5) หัวหน้าโครงการต้องแนบหลักฐานแสดงผลงานตีพิมพ์ ภายในระยะเวลา 5 ปี ย้อนหลัง (ค.ศ. 2018-2022) จาก www.scopus.com หรือ หลักฐานแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมที่ผ่านมา พร้อมกับข้อเสนอโครงการในข้อ (4) ด้วย
การพิจารณาข้อเสนอโครงการ/แผนงาน
มหาวิทยาลัยดำเนินการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของข้อเสนอโครงการเป็นไปตามกรอบวิจัย (Research Framework) ของ มจพ. จัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการ และจัดทำแผนงานและแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน เพื่อนำส่ง สกสว. โดยมีหลักเกณฑ์การจัดลำดับข้อเสนอโครงการ ดังนี้
(1) พิจารณาจัดกลุ่มข้อเสนอโครงการจากประวัติของหัวหน้าโครงการ ได้แก่ การได้รับทุนวิจัย/การปิดทุนวิจัยจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ทุนงบประมาณแผ่นดิน หรือทุนจากงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และจำนวนโครงการวิจัยจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ทุนงบประมาณแผ่นดิน หรือทุนจากงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน
(2) พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการ จากผลการประเมินคุณภาพของข้อเสนอโครงการโดยคณะกรรมการ/ผู้ทรงคุณวุฒิ
*** โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ กรณีที่ได้รับแจ้งจาก สกสว. ให้มีการปรับลดงบประมาณในอนาคตด้วย เช่น อาจมีการพิจารณาตัดงบประมาณโครงการที่หัวหน้าโครงการติดค้างการปิดทุนวิจัยจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ทุนงบประมาณแผ่นดิน หรือทุนจากงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) หรือตัดงบประมาณโครงการที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญท้ายสุดก่อน ***
จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ข้อมูลการติดต่อสอบถาม:
ฝ่ายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทร. 0-2555-2000 ต่อ 1506, 1513, 1514
Line Official: https://lin.ee/U6iW5Q2
Facebook inbox: m.me/KMUTNBSTRI
ประกาศโดย สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2565
เอกสารแนบ 1
ขอบข่ายโครงการวิจัยที่ต้องได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
การศึกษาวิจัย การสอบถาม การสัมภาษณ์ทางสังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ การทดลองเภสัชผลิตภัณฑ์ เวชสำอาง สารโภชนเภสัช เครื่องมือแพทย์ การศึกษาธรรมชาติของโรค การวินิจฉัย การรักษา การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ หรือกระทำกับมนุษย์ที่ยังมีชีวิต ทั้งทางตรงและทางอ้อม การศึกษาวิจัยจากเวชระเบียนหรือฐานข้อมูล วัตถุสิ่งส่งตรวจ น้ำคัดหลั่ง เนื้อเยื่อ หรือสารพันธุกรรมที่ได้จากร่างกายบุคคลที่อาจระบุถึงได้ รวมถึงการศึกษาทางสรีรวิทยา ชีวเคมี พยาธิวิทยา การตอบสนองต่อการรักษาทางด้านกายภาพ ชีวเคมี จิตวิทยาที่กระทำต่อบุคคล รวมถึงการศึกษาวิจัยต่อเซลล์ ตัวอ่อนที่มีเซลล์ หรือส่วนประกอบของเซลล์ของมนุษย์ร่วมอยู่ด้วย
หลักสูตรอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ แบบออนไลน์
1. “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เบื้องต้น (Basic Human Subject Protection Course)”
โดย มหาวิทยาลัยนเรศวร
หลักสูตรนี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และผู้เรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตรซึ่งสามารถนำไปใช้ประกอบการยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโครงการวิจัยได้
ลงทะเบียนเรียนได้ที่ : https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:NU+NU042+2020/about
2. “จริยธรรมการวิจัยในคน”
โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีเนื้อหาให้ศึกษาก่อนทำแบบทดสอบออนไลน์ และจะได้รับใบประกาศนียบัตรซึ่งมีอายุการใช้งาน 2 ปี
ลงทะเบียนเรียนได้ที่ : https://www.medtu.org/GCP/