ขอเชิญเข้าร่วมโครงการสนับสนุนการจัดทำวีดิทัศน์และการอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านนำเสนอผลงาน สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้ตรงใจโดยผู้เชี่ยวชาญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
-
ฮิต: 249
ขอเชิญเข้าร่วมโครงการสนับสนุนการจัดทำวีดิทัศน์และการอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านนำเสนอผลงาน สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้ตรงใจโดยผู้เชี่ยวชาญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ตามที่ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้มีการจัดโครงการสนับสนุนการจัดทำวีดิทัศน์และการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้ตรงใจโดยผู้เชี่ยวชาญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้แก่ทีม มจพ. ที่ผ่านรอบคัดเลือก โดยสนับสนุนทุนในการผลิตวีดีทัศน์ และจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านนำเสนอผลงาน (Pitching) ให้ตรงใจโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจมองเห็นภาพกว้างที่เป็นแนวทางแก้ไข (Solution) ในการตอบปัญหา (Pain Point) สามารถโน้มน้าวใจผู้ฟังให้มีส่วนร่วมกับเรื่องที่นำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเล่าเรื่อง (Storytelling) ได้อย่างครบถ้วนและโดนใจ ในระยะเวลาสั้นๆ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ฟังได้ทันที ผลงานของทีม มจพ. ที่ได้รับการสนับสนุนนั้นประสบความสำเร็จสูงสุด เนื่องจากสามารถผ่านเข้ารอบ 12 ผลงาน ได้ทั้ง 5 ผลงาน และผลงานคุราเกะ แมงกระพรุนฟรีสดายรสซอสน้ำมันงา ยังบได้รับพระราชทาน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ประจำปี 2566 อีกด้วย
ในการนี้ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงเห็นควรจัดทำโครงการสนับสนุนการจัดทำวีดิทัศน์และการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้ตรงใจโดยผู้เชี่ยวชาญ ต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ นักวิจัย นักเรียนและนักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ร่วมพัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติ อันจะนำไปสู่การแข่งขันนวัตกรรมระดับชาติและนานาชาติ และยังกระตุ้นให้นำผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ไปสู่การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญานำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์ และเกิดการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ โดยทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบตัดสินจะต้องนำเสนอผลงานของตนเองให้กระชับ เข้าใจง่าย และตรงประเด็นภายในเวลาที่กำหนดต่อคณะกรรมการเพื่อตัดสินผลงานชนะเลิศ ต่อไป
จึงขอเชิญชวนบุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ดูรายละเอียดและเข้าร่วมอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ https://kmutnb-innoawards.com และhttps://stri.kmutnb.ac.th/ สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Website: https://kmutnb-innoawards.com/
Facebook: Kmutnb Innovation Awards
Youtube: STRI Information
Line Official: https://page.line.me/007yvweo
E-mail: Info@stri.kmutnb.ac.th
Tel. +66(0)-2555-2000 ext. 1506
- คุณสมบัติและเงื่อนไข
- เป็นนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของ มจพ. ที่เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง และมีสิทธิตามกฎหมายในการเป็นเจ้าของผลงานนวัตกรรมอย่างแท้จริง
- ผู้เข้าร่วมรับการสนับสนุนฯ เป็นแบบบุคคลเดียวหรือกลุ่มบุคคลก็ได้ ทั้งนี้ไม่เกิน 5 คนต่อผลงาน
- ผลงานที่ได้รับการสนับสนุนฯ ต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยส่งประกวดในรายการนี้มาก่อน หรือมีเนื้อหารายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างน้อย 60% ขึ้นไป
- ผลงานที่ได้รับการสนับสนุนฯ ต้องเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2567 (KMUTNB Innovation Awards 2024) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- รับทราบและยินยอมให้ผู้จัดงานเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย ชื่อ-สกุล ชื่อส่วนงาน รวมถึงเนื้อหาผลงาน VDO สื่ออื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาผลงานของท่าน บนเว็บไซต์รวมถึงช่องทางการประชาสัมพันธ์อื่นใดของผู้จัดงาน
- กรณีผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือก ต้องมีสมาชิกในทีมอย่างน้อย 1 คน ที่สามารถเข้าร่วมการอบรมทุกครั้ง และเข้าร่วมการถ่ายทำ/จัดทำวิดิทัศน์ การพัฒนาแผนธุรกิจด้วย Lean Canvas การพัฒนาวิดิทัศน์ การถ่ายทำและจัดทำวิดิทัศน์ และการพัฒนาโปสเตอร์ในวันและเวลาที่ทางสำนักวิจัยฯ เป็นผู้กำหนด
- กรณีผ่านเข้ารอบประกวด Virtual Exhibition ต้องมีสมาชิกในทีมอย่างน้อย 1 คน ที่สามารถเข้าร่วมการอบรมทุกครั้ง และการพัฒนาพรีเซนเทชั่น และการพัฒนาการนำเสนอแบบ Pitching ในวันและเวลาที่ทางสำนักวิจัยฯ เป็นผู้กำหนด
- กรณีผ่านเข้าสู่รอบตัดสิน ต้องมีสมาชิกในทีมอย่างน้อย 1 คน ที่สามารถเข้าร่วมประกวดและนำเสนอผลงาน ในวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร - การพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้จัดการประกวดขอสงวนสิทธิ์ในการระงับหรือยกเลิกการให้สิทธิหรือรางวัลใด ๆ แก่บุคคลที่กระทำการใด ๆ โดยทุจริต หรือผิดกฎหมาย หรือไม่ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขในการประกวดนี้
- สิ่งที่ได้รับการสนับสนุน
- ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมประกวดดูรายละเอียดการสมัครและสมัครได้ที่เว็บไซต์งานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมฯ https://kmutnb-innoawards.com/ และ https://stri.kmutnb.ac.th/
- ได้รับการสนับสนุนการจัดทำวีดิทัศน์
คำแนะนำ
แนวทางการจัดทำคลิป VDO นำเสนอผลงาน ความยาวเนื้อหา 2 - 3 นาที (ความยาวตลอดทั้ง VDO ไม่น้อยกว่า 2 นาที แต่ไม่เกิน 3 นาที กรณีความยาวคลิปไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะถูกตัดคะแนนโดยอัตโนมัติ) บันทึกเป็นไฟล์ .MP4 หรือ .MOV ขนาดไม่เกิน 200 MB โดยบรรดาข้อความ รูปภาพ ภาพวิดีโอ เสียง และเนื้อหาอื่นใดตลอดจนสื่อประเภทอื่นที่ปรากฏใน VDO จะต้องได้รับอนุญาตและ/หรือไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
ควรแสดงให้เห็นถึงเนื้อหารายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
- ที่มาของแนวคิด
- ความโดดเด่นของผลงาน/ลักษณะเฉพาะ
- แสดงต้นแบบผลงาน (ถ้ามี) และวิธีการทำงาน/การใช้งาน
- ประโยชน์ / ผลกระทบของผลงาน ต่อ อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม
- อาจกล่าวถึงความร่วมมือ (ถ้ามี) เช่น ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัท เป็นต้น
- ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านนำเสนอผลงาน สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้ตรงใจโดยผู้เชี่ยวชาญ
- การพัฒนาแผนธุรกิจด้วย Lean Canvas
- การพัฒนาวิดิทัศน์
- การพัฒนาโปสเตอร์
- การพัฒนาพรีเซนเทชั่น
- การนำเสนอแบบ Pitching
กิจกรรม |
ผู้ได้รับการสนับสนุน |
วัน/เวลา |
การพัฒนาแผนธุรกิจด้วย Lean Canvas |
ทุกทีมที่สนใจ |
6 มีนาคม 2567 |
การพัฒนาวิดิทัศน์ |
5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ |
9 – 12 เมษายน 2567 |
การถ่ายทำและจัดทำวิดิทัศน์ |
5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ |
17 – 26 เมษายน 2567 |
การพัฒนาโปสเตอร์ |
5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ |
26 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2567 |
การพัฒนาพรีเซนเทชั่น |
5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบตัดสิน |
4 – 28 มิถุนายน 2567 |
การพัฒนาการนำเสนอแบบ Pitching |
5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบตัดสิน |
4 – 28 มิถุนายน 2567 |
- กำหนดการรับสมัคร รูปแบบและหลักเกณฑ์การพิจารณาตัดสิน การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2567
กิจกรรม |
วัน/เวลา |
เปิดรับสมัครผลงาน |
12 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม 2567 (16.00 น.) |
ประกาศรายชื่อผลงานที่ผ่านรอบคัดเลือก |
4 เมษายน 2567 |
ผลงานที่ผ่านรอบคัดเลือกส่ง VDO และ Poster |
4 - 26 เมษายน 2567 |
จัดแสดงและประกวดรอบ Virtual Exhibition |
2 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป |
ประกาศรายชื่อผลงานที่ผ่านเข้าสู่รอบตัดสิน |
28 พฤษภาคม 2567 |
นำเสนอผลงานรอบตัดสินและมอบรางวัล |
5 กรกฎาคม 2567 |
หมายเหตุ * นำเสนอผลงาน (รอบตัดสิน) และ พิธีมอบรางวัล กำหนดจัดในวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567
ณ ห้อง Cloud9 ชั้น 9 อาคารสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
** กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
รูปแบบการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผลงานจะพิจารณาตามประเภทการประกวดและประเภทของผลงานที่ผู้เข้าประกวดเลือกไว้ในใบสมัครเป็นหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประเภทการประกวดแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) INNOVATIVE IDEAS (ID)
คำจำกัดความ - ผลงานมีการแสดงแนวคิดเริ่มต้นโดยการประยุกต์ใช้หลักการพื้นฐานมาสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ โดยอาจยังไม่ได้มีการทดลอง หรือพิสูจน์องค์ประกอบของแนวคิด มีระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (TRL) ระดับ 1 - 3
2) INNOVATIVE PRODUCTS (IP)
คำจำกัดความ - ผลงานมีการแสดงถึงความพร้อมใช้งาน โดยองค์ประกอบแต่ละส่วนสามารถทำงานร่วมกันได้ มีการทดลองใช้งานพร้อมพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ มีระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (TRL) อยู่ในระดับ 4 - 9
ทำความเข้าใจ TRL: https://www.thailibrary.in.th/2021/10/15/trl/
ประเภทของผลงานแบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้
- Energy & Environment พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- Food & Agriculture อาหารและการเกษตร
- Social & Economy สังคมและเศรษฐกิจ
- Medical Device อุปกรณ์เพื่อการแพทย์
- Material วัสดุ
การพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผลงาน แบ่งเป็น 3 รอบ ดังนี้
รอบคัดเลือก
คัดเลือกผลงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดจากผลงานที่สมัครเข้าร่วมประกวดและตรงตามคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้จัดงาน โดยคณะกรรมการฯ พิจารณาจากรายละเอียดผลงานและคลิป VDO นำเสนอผลงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งคลิป VDO ผลงานที่ผ่านรอบคัดเลือกจะได้จัดแสดงในรอบประกวด Virtual Exhibition ซึ่งจะจัดกลุ่มผลงานตามประเภทการประกวดและประเภทของผลงานที่ผู้เข้าประกวดเลือกตามลำดับ
รอบประกวด Virtual Exhibition
คณะกรรมการฯ พิจารณารายละเอียดผลงาน คลิป VDO นำเสนอผลงาน และ Poster ที่จัดแสดงในการประกวดรูปแบบ Virtual Exhibition ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดของการประกวดแต่ละประเภท เพื่อคัดเลือกผลงานที่เหมาะสม จำนวน 6 ผลงาน ต่อประเภทรางวัล (รวม 12 ผลงาน) เข้าสู่รอบตัดสิน
รอบตัดสิน
ผู้เข้ารอบตัดสินจะต้องจัดแสดงผลงาน และนำเสนอผลงาน (Pitching) ต่อคณะกรรมการ ตามวัน เวลา และสถานที่จัดงานตามที่ผู้จัดงานกำหนด โดยจัดเตรียมผลงานและสื่อประกอบได้ตามความเหมาะสม ระยะเวลาการนำเสนอ ไม่เกิน 5 นาที และถาม-ตอบคณะกรรมการ ไม่เกิน 5 นาที รวมไม่เกิน 10 นาที ทั้งนี้ ผู้นำเสนอผลงานจะต้องเป็นผู้ที่มีรายชื่อในฐานะผู้ประดิษฐ์ ที่ระบุไว้ในใบสมัครเข้าร่วมประกวดเท่านั้น
นำเสนอผลงานรอบตัดสิน และ พิธีมอบรางวัล กำหนดจัดขึ้น ในวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง Cloud9 ชั้น 9 อาคารสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยผู้จัดงานจะจัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดแสดงผลงาน ให้กับ 12 ผลงาน และเปิดให้ผู้สนใจสามารถเข้าชมผลงานและการประกวดได้ โดยรายละเอียดจะประกาศให้ทราบต่อไป
หมายเหตุ * การพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
** ผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ในการระงับหรือยกเลิกการให้สิทธิหรือรางวัลใดๆ แก่บุคคลที่กระทำการใดๆ โดยทุจริต หรือผิดกฎหมาย หรือไม่ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขในการประกวดนี้
- ข้อมูลติดต่อผู้จัดงาน
ฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการจัดงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Website: https://kmutnb-innoawards.com/
Facebook: Kmutnb Innovation Awards
Line Official: https://page.line.me/007yvweo
Youtube: STRI Information
E-mail: Info@stri.kmutnb.ac.th
Tel. +66(0)-2555-2000 ext. 1506
โครงการสนับสนุนการจัดทำวีดิทัศน์และการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านนำเสนอผลงาน สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้ตรงใจโดยผู้เชี่ยวชาญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
กิจกรรม |
|
วัน/เวลา |
การพัฒนาแผนธุรกิจด้วย Lean Canvas |
ทุกทีมที่สนใจ |
6 มีนาคม 2567 |
การพัฒนาวิดิทัศน์ |
5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ |
9 – 12 เมษายน 2567 |
การถ่ายทำและจัดทำวิดิทัศน์ |
5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ |
17 – 26 เมษายน 2567 |
การพัฒนาโปสเตอร์ |
5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ |
26 เมษายน – |
การพัฒนาพรีเซนเทชั่น |
X ใน 5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบตัดสิน |
4 – 28 มิถุนายน 2567 |
การพัฒนาการนำเสนอแบบ Pitching |
X ใน 5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบตัดสิน |
4 – 28 มิถุนายน 2567 |
การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2567
กิจกรรม |
|
วัน/เวลา |
เปิดรับสมัครผลงาน |
ทุกทีมที่สนใจ |
12 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม 2567 |
ประกาศรายชื่อผลงานที่ผ่านรอบคัดเลือก |
60 ทีม |
4 เมษายน 2567 |
ผลงานที่ผ่านรอบคัดเลือกส่ง VDO และ Poster |
60 ทีม |
4 - 26 เมษายน 2567 |
จัดแสดงและประกวดรอบ Virtual Exhibition |
60 ทีม |
2 พฤษภาคม 2567 |
ประกาศรายชื่อผลงานที่ผ่านเข้าสู่รอบตัดสิน |
12 ทีม |
28 พฤษภาคม 2567 |
นำเสนอผลงานรอบตัดสินและมอบรางวัล |
12 ทีม |
5 กรกฎาคม 2567 |
ข้อมูลติดต่อผู้จัดงาน
ฝ่ายเลขานุการ โครงการสนับสนุนการจัดทำวีดิทัศน์และการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้ตรงใจโดยผู้เชี่ยวชาญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผู้ประสานงาน คุณบุษบา การุณสิต
E-mail: Budsaba.k@stri.kmutnb.ac.th
Tel. +66(0)-2555-2000 ext. 1539