ทุนวิจัย

จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยให้กับนักวิจัย บริการให้คำปรึกษาการดำเนินงานวิจัย ออกเอกสารราชการตามคำร้อง ประสานงานกับแหล่งทุน และส่วนราชการเพื่อให้งานวิจัยดำเนินงานได้สำเร็จลุล่วงตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

ทุนวิจัย

จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยให้กับนักวิจัย บริการให้คำปรึกษาการดำเนินงานวิจัย ออกเอกสารราชการตามคำร้อง ประสานงานกับแหล่งทุน และส่วนราชการเพื่อให้งานวิจัยดำเนินงานได้สำเร็จลุล่วงตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ โดยทุนวิจัยสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทหลัก คือ ทุนวิจัยภายใน และทุนวิจัยภายนอก

ทุนวิจัยภายใน

ทุนวิจัยจากเงินรายได้ของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัย มจพ. เพื่อเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้
เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์การทำงานสู่การเป็นนักวิจัยอาชีพที่มี
คุณภาพ สามารถแบ่งตามประเภทแหล่งทุนได้ ดังนี้

ทุนวิจัยภายใน

ทุนวิจัยจากเงินรายได้ของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัย มจพ. เพื่อเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์การทำงานสู่การเป็นนักวิจัยอาชีพที่มี คุณภาพ สามารถแบ่งตามประเภทแหล่งทุนได้ ดังนี้

ทุนเริ่มต้นเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้มีโอกาสทำงานวิจัยใระยะเริ่มต้น และพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามศักยภาพและความถนัดที่มีอยู่ หากนักวิจัยรุ่นใหม่มีโอกาสในการทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องระยะเวลาหนึ่งควบคู่กับการให้คำปรึกษาจากนักวิจัยที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ จะทำให้นักวิจัยรุ่นใหม่สามารถริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ด้วยตัวเองได้ และสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นนักวิจัยอาชีพที่มีคุณภาพ อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

  • สนับสนุนงบประมาณทุนละไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี

ทุนสนับสนุนการดำเนินงานให้กับนักวิจัยที่มีประสบการณ์ทำวิจัยมาก่อน เพื่อดำเนินงานวิจัยในระดับพื้นฐาน ทั้งในสายวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี และสายสังคมและมนุษยศาสตร์ มุ่งเน้นการผลิตผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล
SCOPUS หรือ วารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI เดิมชื่อ ทุนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย (DRIVE) หรือ ทุนนักวิจัยทั่วไป

สนับสนุนงบประมาณ 3 รูปแบบ

  • ทุนละไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
  • ทุนละไม่เกิน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน)
  • ทุนละไม่เกิน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี

ทุนสนับสนุนการดำเนินงานให้กับนักวิจัยที่มีประสบการณ์ทำวิจัยมาก่อน เพื่อดำเนินงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อน มุ่งเน้นการผลิตผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล SCI/AHCI/SSCI

สนับสนุนงบประมาณ 3 รูปแบบ
  • ทุนละไม่เกิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
  • ทุนละไม่เกิน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)
  • ทุนละไม่เกิน 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี

ทุนสนับสนุนการดำเนินงานให้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการได้มีโอกาสทำงานวิจัย และนำผลงานวิจัยไปพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กร หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพและความถนัดที่มีอยู่ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการทำงาน อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนองค์กรด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

  • สนับสนุนทุนละไม่เกิน 60,000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี

ทุนสนับสนุนการดำเนินงานให้กับนักวิจัยที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรม โดยเน้นสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมระดับพื้นฐานเพื่อให้เกิดการต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ยั่งยืน

  • สนับสนุนทุนละไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี

ทุนสนับสนุนการดำเนินงานให้กับนักวิจัยที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรม โดยเน้นสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมให้นำองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือนำไปสู่การใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม

  • สนับสนุนทุนละไม่เกิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)  และต้องมีภาคเอกชนร่วมสนับสนุน (In-cash) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี

ทุนสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่นักวิจัยของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมให้นักวิจัยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ เพิ่มพูนทักษะความสามารถในการต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่ภาคการผลิตร่วมกับผู้ใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ โดยการใช้องค์ความรู้ที่มีในการแก้ไขปัญหาตามโจทย์ของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือพัฒนาด้านโครงสร้างองค์กรหรือพัฒนาบุคลากรในองค์กรของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนใช้ประโยชน์ผลการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

  • สนับสนุนทุนละไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี
  • สนับสนุนทุนละไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 6 เดือน

กำหนดการ

มีนาคม - เมษายน
สิงหาคม - กันยายน
ตุลาคม
มีนาคม / กันยายน

เปิดรับข้อเสนอโครงการ

ประกาศผล/ทำสัญญา

เริ่มดำเนินโครงการ

ติดตามรายงานความก้าวหน้า /รายงานปิดโครงการ

ทุนวิจัยจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย จะเปิดรับสมัครช่วงไหน ?

เปิดรับสมัครในเดือน มีนาคม – เมษายน ของทุกปี

หลังจากทำสัญญารับทุนเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินงวดที่ 1 เมื่อไหร่ ?

เนื่องจากช่วงเวลาในการทำสัญญาเป็นช่วงปิดงบประมาณประจำปี  โดย สวท. จะสามารถดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้กับนักวิจัยได้ในช่วงเดือน พฤศจิกายน

ค่าครุภัณฑ์ต่างจากค่าวัสดุอย่างไร และถ้ามีการซื้อครุภัณฑ์ในโครงการ จะต้องทำอย่างไร ?

ค่าครุภัณฑ์ คือ สิ่งของที่ลักษณะสภาพคงทนถาวร ไม่สิ้นเปลืองหมดไป อายุการใช้งานยาวนาน และสามารถซ่อมแซมได้ เช่น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ค่าอุปกรณ์ดิจิทัลค่าจัดจ้างพัฒนาข้อมูล/โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค่าลิขสิทธิ์ ที่ราคาสูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไป ฯลฯ

ค่าวัสดุ คือ สิ่งของที่ลักษณะสภาพไม่คงทนถาวร อายุการใช้งานไม่ยืนนาน สิ้นเปลืองหมดไป เช่น วัสดุสำนักงานที่ใช้สำหรับโครงการ ค่าวัสดุทางการแพทย์/ วิทยาศาสตร์ สารเคมี ค่าภาชนะบรรจุ แก๊ส ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ราคาต่อชิ้นไม่เกิน 20,000 บาท เช่น RAM, การ์ดจอ ค่าจัดทำเล่มรายงาน ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ

ทั้งนี้ นักวิจัยที่มีการซื้อครุภัณฑ์จะต้องดำเนินการส่ง TOR ของครุภัณฑ์ที่จะซื้อมาพร้อมกับบันทึกข้อความผ่านหน่วยงานต้นสังกัด มาที่ สำนักวิจัยฯ ในช่วงการทำสัญญา  เพื่อให้ งานพัสดุ สำนักวิจัยฯ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างหลังจากทำสัญญาเรียบร้อยแล้วต่อไป

ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อในโครงการ เมื่อปิดโครงการแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไร?

เมื่อปิดโครงการแล้ว ให้นักวิจัยดำเนินการจัดทำบันทึกข้อความมาที่ สำนักวิจัยฯ เพื่อดำเนินการขอโอนครุภัณฑ์ไปยังหน่วยงาน ภาควิชา คณะ ต้นสังกัด

บทความวิจัยที่ไม่ตรงกับเรื่องที่ยื่นขอรับทุน สามารถใช้ปิดทุนได้หรือไม่ ?

ชื่อบทความวิจัยอาจไม่ตรงกันทั้งหมดได้ แต่เนื้อหาในบทความวิจัยที่ใช้ปิดทุนจะต้องเกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยที่ขอรับทุน และต้องมีการ Acknowlenge ตามเงื่อนไขในสัญญา

หากต้องการยุติทุน/ยกเลิกโครงการต้องทำอย่างไร?

นักวิจัยดำเนินการส่งบันทึกข้อความแจ้งขอยกเลิกทุน ผ่านหน่วยงานต้นสังกัดมาที่สำนักวิจัยฯ โดยสำนักวิจัยฯ จะนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมกรรมการฯ และแจ้งผลกลับไป

กรณีได้รับอนุมัติให้ยุติโครงการ ให้นักวิจัยดำเนินการปิดบัญชีสหกรณ์ และนำส่งเงินงวดที่ได้รับทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในบัญชีดังกล่าว คืนที่ งานการเงิน สำนักวิจัยฯ ชั้น 2

สามารถขอขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการ ได้หรือไม่?

หากผู้รับทุนไม่สามารถดำเนินโครงการและปิดโครงการได้ภายในระยะเวลาของการขอรับทุน ผู้รับทุนสามารถขอขยายเวลาการปิดโครงการก่อนครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามสัญญาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 6 เดือน โดยต้องระบุร้อยละของการดำเนินการในการขอขยายเวลาในแต่ละครั้ง ดังนี้

  • ขอขยายเวลาครั้งที่ 1 ต้องมีความก้าวหน้าของการดำเนินงาน อย่างน้อยร้อยละ 60
  • ขอขยายเวลาครั้งที่ 2 ต้องมีความก้าวหน้าของการดำเนินงาน อย่างน้อยร้อยละ 80

โดยจะต้องส่งบันทึกข้อความขอขยายระยะเวลา ผ่านต้นสังกัด พร้อมแบบฟอร์มการขอขยายระยะเวลา มาที่ ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย สำนักวิจัยฯ ก่อนครบกำหนดระยะเวลาดำเนินงาน

โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 1513
E-mail: research.net@stri.kmutnb.ac.th

การจ่ายเงินทุนวิจัย

งบประมาณ ววน. ประเภทงานมูลฐาน
Fundamental Fund (FF)

งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประเภทงานมูลฐาน หรือ Fundamental Fund (FF) เป็นการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ให้แก่หน่วยรับงบประมาณ (มหาวิทยาลัย) ในรูปแบบวงเงินรวม (block grant) เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณนำไปจัดสรรเป็นงบประมาณวิจัยให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน โดยต้องนำส่งผลผลิตที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน ให้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ประกาศ มจพ. เรื่อง การจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)
กรอบวิจัยของ มจพ. และแนวทางการยื่นขอรับงบประมาณด้าน ววน. (Fundamental Fund: FF)

กำหนดการ

มิถุนายน - สิงหาคม
สิงหาคม - กันยายน
กันยายน
ประมาณ 1 ปี
สิงหาคม - กันยายน
ตุลาคม
มีนาคม / กันยายน

เปิดรับข้อเสนอโครงการ
(ขั้นกลั่นกรองแผน)

กลั่นกรองข้อเสนอโครงการ

นำเข้าข้อเสนอโครงการ
ในระบบ NRIIS เพื่อส่ง สกสว. พิจารณา

สกสว.พิจารณาการจัดสรรงบประมาณ

สกสว.แจ้งผลการจัดสรรงบประมาณ
สำนักวิจัยฯ ดำเนินการแจ้งผลงานไปยังนักวิจัย

เริ่มดำเนินโครงการ

ติดตามรายงานความก้าวหน้า /รายงานปิดโครงการ

ววน. ต่างจากทุนเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยอย่างไร ?

ววน. เป็นการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ให้แก่หน่วยรับงบประมาณ (มหาวิทยาลัย) ในแบบวงเงินรวม (block grant) เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณนำไปจัดสรรเป็นงบประมาณวิจัยให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน โดยต้องนำส่งผลผลิตที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน ให้แก่ สกสว. ในส่วนของทุนเงินรายได้ เป็นการจัดสรรทุน โดยใช้เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น

ถ้าต้องการขอรับงบประมาณด้าน ววน. จะต้องดำเนินการอย่างไร ?

จะต้องยื่นข้อเสนอโครงการตามกรอบวิจัยที่ มจพ. กำหนด และนำเข้าข้อมูลผ่านระบบ NRIIS ตามกำหนดการที่ประกาศในแต่ละปี

สามารถขยายเวลาการปิดโครงการ ววน. ได้หรือไม่ ?

สามารถขยายเวลาการปิดโครงการได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 6 เดือน ดังนี้

        –  ครั้งที่ 1 ระยะ 18 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. – 31 มี.ค. ของปีงบประมาณถัดไป

        –  ครั้งที่ 2 ระยะ 24 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 30 ก.ย. ของปีงบประมาณถัดไป

โดยจะต้องแจ้งการขยายเวลามาที่สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแจ้งขอขยายเวลาในระบบ NRIIS ด้วยทุกครั้ง ตามระยะเวลาที่กำหนด

หากผลผลิตที่ต้องนำส่งเขียนไว้ตอนยื่นข้อเสนอโครงการว่ามีนักศึกษา ป.โท จำนวน 2 คน แต่เมื่อได้รับทุนและจะปิดโครงการ ไม่มีนักศึกษามาสมัครเรียนและทำหัวข้อวิจัยด้วย จะรายงาน สกสว. อย่างไร ?

รายงานผลการดำเนินงานตามจริง โดยชี้แจงเหตุผล ปัญหาอุปสรรค ที่ไม่สามารถนำส่งผลผลิตของนักศึกษาตามจำนวนที่ให้คำรับรองไว้ได้ เช่น ไม่มีนักศึกษามาสมัครเรียน เป็นต้น หรือ ปรับรูปแบบการดำเนินงานโดยนำไปประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอนเพิ่มเติม

สามารถใช้บทความวิจัยที่เป็นการทำวิจัยร่วมกับโครงการอื่นโดยมีการเขียน Acknowledgement เลขสัญญารับทุน ววน. อยู่ด้วย มาปิดโครงการได้หรือไม่ ?

สามารถใช้บทความวิจัยที่เป็นการทำวิจัยร่วมกับโครงการอื่นที่ได้รับทุนจากภายนอก (ซึ่งไม่มีเนื้องานที่ซ้ำซ้อนกัน) ในการปิดทุน ววน. ได้ แต่ไม่สามารถใช้ปิดทุนร่วมกับโครงการอื่นที่ได้รับทุน ววน. หรือทุนเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยได้

หากต้องการยุติทุน/ยกเลิกโครงการต้องทำอย่างไร?

นักวิจัยดำเนินการส่งบันทึกข้อความแจ้งขอยกเลิกทุน ผ่านหน่วยงานต้นสังกัดมาที่สำนักวิจัยฯ โดยสำนักวิจัยฯ จะนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมกรรมการฯ และแจ้งผลกลับไป

กรณีได้รับอนุมัติให้ยุติโครงการ ให้นักวิจัยดำเนินการปิดบัญชีสหกรณ์ และนำส่งเงินงวดที่ได้รับทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในบัญชีดังกล่าว คืนที่ งานการเงิน สำนักวิจัยฯ ชั้น 2

สามารถนำผลงานบทความวิจัยจากโครงการไปยื่นขอรับเงินสมนาคุณการตีพิมพ์บทความวิจัยจากหน่วยงานต้นสังกัดได้หรือไม่ ?

ไม่สามารถนำผลงานบทความวิจัยจากโครงการไปยื่นขอรับเงินสมนาคุณการตีพิมพ์บทความวิจัยจากหน่วยงานต้นสังกัดได้

สามารถซื้อครุภัณฑ์วิจัยจากงบประมาณในโครงการ ววน. ได้หรือไม่ ?

สามารถเสนอของบประมาณหมวดครุภัณฑ์ในข้อเสนอโครงการได้     โดยต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็น และแนบใบเสนอราคาจากบริษัทจำนวน 3 บริษัท ในขั้นตอนการยื่นข้อเสนอโครงการผ่านระบบ NRIIS ด้วย

ซึ่งหากได้รับจัดสรรงบประมาณ จะต้องดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์ในวงเงินไม่เกินที่ระบุใบเสนอราคา และต้องทำเรื่องขออนุมัติจัดซื้อผ่านสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณที่ได้รับทุน (ภายในเดือนธันวาคม) และจะต้องมีการรายงานผลการจัดซื้อครุภัณฑ์ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณที่ได้รับทุน (ภายในเดือนมีนาคม)

หากมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดในโครงการ เช่น เปลี่ยนวิธีการวิจัย เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของโครงการ จะทำได้หรือไม่ ?

การปรับเปลี่ยนรายละเอียดในโครงการจะต้องไม่กระทบต่อวัตถุประสงค์ของโครงการ และผลผลิตที่ต้องนำส่ง สกสว. กล่าวคือ ชื่อโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ และผลผลิตของโครงการที่ต้องนำส่ง สกสว. จะต้องคงเดิมตามที่ระบุในคำรับรอง สำหรับการปรับเปลี่ยนวิธีวิจัย หรืออื่นๆ ที่ไม่กระทบต่อเงื่อนไขข้างต้น สามารถทำได้โดยจัดทำบันทึกข้อความแจ้งเหตุผลความจำเป็นในการขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการส่งมาที่คณะกรรมการประจำสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพิจารณาอนุมัติ

งบประมาณค่าจัดสร้างหรือประกอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ จัดเป็นงบประมาณหมวดค่าใช้สอย หรือค่าครุภัณฑ์ ?

งบประมาณค่าจัดสร้างหรือประกอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ จัดเป็นงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์

การตั้งงบประมาณหมวดค่าจ้าง/ค่าตอบแทนในโครงการ สามารถจ่ายเงินให้กับบุคคลประเภทใดได้บ้าง ?

– ค่าจ้างนักวิจัยร่วมโครงการ หรือ ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัย ที่มิใช่บุคลากรประจำของหน่วยงาน

– ค่าจ้างที่ปรึกษา โดยต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็น และต้องเป็นบุคลากรภายนอกหน่วยงานเท่านั้น

งบประมาณค่าจัดจ้างพัฒนาฐานข้อมูล / แอปพลิเคชั่น จัดเป็นงบประมาณหมวดค่าใช้สอย หรือค่าครุภัณฑ์ ?

งบประมาณค่าจัดจ้างพัฒนาฐานข้อมูล / แอปพลิเคชั่น จัดเป็นงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์

ค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จัดเป็นงบประมาณในหมวดใด ?

ค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฐานข้อมูล จัดอยู่ในหมวดครุภัณฑ์ 

***เนื่องจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ราคาสูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไป มีอายุการใช้งานหรืออายุลิขสิทธิ์เกิน 1 ปีขึ้นไป จัดเป็นครุภัณฑ์ (โดยจะต้องเป็นไปเพื่อการดำเนินการตามแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบการคำนวณขั้นสูงการวิเคราะห์หรือการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีปริมาณมากเท่านั้น)

ค่าบำรุงรักษาเครื่องมือ หรือค่าสอบเทียบเครื่องมือ จัดเป็นงบประมาณในหมวดใด ?

ค่าบำรุงรักษาเครื่องมือ หรือค่าสอบเทียบเครื่องมือ จัดเป็นงบประมาณในหมวดค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์

โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ  1514, 1545
E-mail: research.net@stri.kmutnb.ac.th

ทุนสำหรับนักศึกษา

ทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนานักศึกษาในการผลิตนักวิจัย
และงานวิจัยตอบสนองความต้องการของประเทศไทยและสร้างผลงาน
วิจัยที่มีศักยภาพในการต่อยอดเพื่อนำไปสู่การใช้ผลงานวิจัยให้
เป็นประโยชน์

ทุนนักศึกษา

ทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนานักศึกษาในการผลิตนักวิจัย และงานวิจัยตอบสนองความต้องการของประเทศไทยและสร้างผลงาน วิจัยที่มีศักยภาพในการต่อยอดเพื่อนำไปสู่การใช้ผลงานวิจัยให้ เป็นประโยชน์

กองทุน 60 ปี มจพ. เพื่อการวิจัยระดับปริญญาเอกและหลังปริญญาเอก โดยการดำเนินงานของสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบัณฑิตวิทยาลัย มีนโยบายการจัดสรรงบประมาณของกองทุนฯ เพื่อเป็นแหล่งทุนศึกษาวิจัยให้แก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก และนักวิจัยที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก  ได้ทำการวิจัยและผลิตผลงานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง ได้แก่ ทุนโครงการดุษฎีบัณฑิต มจพ. และทุนสนับสนุนโครงการวิจัยของนักวิจัยที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก

เปิดรับสมัครช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีความร่วมมือกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อร่วมกันสนับสนุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ในการผลิตนักวิจัยและงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือระหว่างนักวิจัยในภาคการศึกษาและนักวิจัยในภาคอุตสาหกรรม ทั้งในระดับ ปริญญาโทและปริญญาเอก

เปิดรับสมัครโดยการบริหารจัดการของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านระบบ NRIIS

โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงในสาขาวิชาที่ตอบสนองความต้องการของประเทศไทยและสร้างผลงานวิจัยที่มีศักยภาพในการต่อยอดเพื่อนำไปสู่การใช้ผลงานวิจัยให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

ยื่นข้อเสนอโครงการและสอบถามข้อมูลได้ที่ ฝ่ายวางแผนพัฒนาและวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย มจพ. โทร. 0-2555-2000 ต่อ 2416, 2417 

ทุนวิจัยภายนอก

ทุนสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก
มหาวิทยาลัย สามารถแบ่งตามประเภทแหล่งทุนได้ ดังนี้

ทุนวิจัยภายนอก

ทุนสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก
มหาวิทยาลัย สามารถแบ่งตามประเภทแหล่งทุนได้ ดังนี้

ทุนสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย โดยหน่วยงานภายใต้กลไกในการบริหารงบประมาณวิจัยด้าน ววน. อาทิ หน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม “9 พีเอ็มยู : หน่วยหนุนทุนวิจัย” (PMU มาจากคำว่า Program Management Unit) ประกอบด้วย

  1. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  2. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
  3. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน (สวก.)
  4. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
  5. PMU “A” มาจาก Area – based หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
  6. PMU “B” มาจาก Brain Power, manpower หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และสร้างนวัตกรรม (บพค.)
  7. PMU “C” มาจาก Competitiveness หรือ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
  8. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCEL)
  9. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

ดูประกาศทุนต่าง ๆ ได้ที่ ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ https://nriis.go.th/

*นักวิจัย มจพ. ที่พบปัญหาการยื่นข้อเสนอโครงการผ่านระบบ NRIIS กรุณาติดต่อ ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย สวท. โทร. 0-2555-2000 ต่อ 1513

ทุนสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย จากหน่วยงานอื่นใดที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากเงินงบประมาณแผ่นดิน เพื่อมาเป็นทุนสนับสนุนการวิจัยหรือการจ้างทำงานวิจัย ได้แก่ กระทรวง กรม กอง อาทิ  สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมการขนส่งทางบก องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

สนับสนุนการดำเนินงานวิจัย จากหน่วยงานจากภาคเอกชนต่าง ๆ ที่มีความประสงค์จะให้ทุนวิจัย หรือ จ้างทำวิจัย ได้แก่ บริษัท ห้างร้าน วิสาหกิจชุมชน หรือบุคคล

การดำเนินงานเพื่อรับทุนภายนอก
ตามระเบียบและประกาศของ มจพ.

การดำเนินงานรับทุนภายนอก ตามระเบียบและประกาศของ มจพ.

ขั้นตอนการดำเนินงานรับทุน
ระเบียบประกาศที่เกี่ยวข้อง
แบบฟอร์มคำขอให้ออกหนังสือราชการ
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง

ต้องการยื่นข้อเสนอโครงการไปยังแหล่งทุน ทำอย่างไร ?

– กรณีเป็นแหล่งทุนที่ต้องยื่นผ่านระบบ nriis ให้นักวิจัยดำเนินการยื่นข้อเสนอโครงการผ่านระบบตามกำหนด พร้อมจัดทำบันทึกข้อความแจ้งความประสงค์ขอรับทุน ระบุชื่อแหล่งทุนและชื่อโครงการ 
ผ่านหน่วยงานต้นสังกัดส่งมาที่ ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย สำนักวิจัยฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันทำการ ก่อนปิดรับ โดยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการเสนอผู้บริหารเพื่อรับรองในระบบ NRIIS ให้ทันกำหนดต่อไป

– กรณีเป็นแหล่งทุนที่ไม่ได้ดำเนินการยื่นผ่านระบบ nriis ให้นักวิจัยดำเนินการจัดทำบันทึกข้อความแจ้งความประสงค์ขอรับทุนอุดหนุนผ่านหน่วยงานต้นสังกัดส่งมาที่ ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย สำนักวิจัยฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันทำการ ก่อนปิดรับ โดยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการออกหนังสือราชการนำส่ง และจัดเตรียมเอกสารประกอบการยื่นตามข้อกำหนดของแหล่งทุนให้นักวิจัยสำหรับใช้ดำเนินการต่อไป

งานบริการวิชาการ กับ โครงการวิจัย ต่างกันอย่างไร ?

งานบริการวิชาการจะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ โดยไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่ง มจพ. มีการจัดประเภทงานให้บริการวิชาการทั้งหมด 11 ประเภท มีการเบิกจ่ายโดยวิธีการเคลียร์บิล (ยกเว้นประเภท
การให้บริการวิจัย การเบิกจ่ายจะอยู่ในรูปแบบเหมาจ่าย)

โครงการวิจัยจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าได้องค์ความรู้ใหม่ โดยการเบิกจ่ายจะเป็นในรูปการเหมาจ่าย

หากต้องการให้สำนักวิจัยฯ ออกหนังสือให้แหล่งทุน ต้องดำเนินการอย่างไร ?

สามารถดาวน์โหลด “แบบฟอร์มคำขอให้ออกหนังสือราชการ” กรอกข้อมูล และลงนาม (สามารถใช้เอกสารลงนามอิเล็กทรอนิกส์ได้) ส่งมาที่สำนักวิจัยฯ ทางอีเมล research.net@stri.kmutnb.ac.th หรือ ช่องทางการติดต่อที่สะดวก ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันทำการ  ซึ่งสำนักวิจัยฯ จะดำเนินออกหนังสือและเสนอลงนามให้ตามกำหนด

สัญญารับทุน ใครเป็นผู้ลงนาม ?

อธิการบดี หรือ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติการแทนอธิการบดี

หากได้รับทุนการวิจัยหรืองานจ้างทำวิจัย แต่แหล่งทุนไม่มีแบบฟอร์มสัญญารับทุน จะดำเนินการอย่างไร ?

มหาวิทยาลัยมีแบบฟอร์มสัญญาสำหรับงานจ้างทำวิจัย สามารถติดต่อขอรับได้ที่ ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย สำนักวิจัยฯ

สามารถยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยภายใต้แผนงานของหน่วยงานอื่น ได้หรือไม่ ?

สามารถดำเนินการได้ โดยให้นักวิจัยส่งบันทึกข้อความแจ้งรายละเอียดมาที่สำนักวิจัยฯ เพื่อรายงานให้มหาวิทยาลัยทราบ ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวได้รับจัดสรรจากแหล่งทุนแล้ว จะต้องให้หน่วยงานหลักที่ได้รับทุนทำหนังสือแจ้งการจัดสรรทุน และรายละเอียดการเบิกจ่ายงบประมาณ และการส่งงานแต่ละงวด มาที่หาวิทยาลัยและต้องดำเนินการขออนุมัติโครงการกับมหาวิทยาลัยตามระเบียบต่อไป

ผู้ร่วมวิจัยเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยได้หรือไม่ ?

ได้ โดยต้องมีคณะทำงานเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

กรณีไม่ถึงร้อยละ 60 ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นเพิ่มเติม ในขั้นตอนขออนุมัติดำเนินโครงการ

ค่าดำเนินการมหาวิทยาลัย คิดอย่างไร ?

มหาวิทยาลัยจะคิดค่าดำเนินการมหาวิทยาลัย ไม่น้อยกว่า 12% ของบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ทั้งนี้ กรณีแหล่งทุนมีข้อกำหนดที่เป็นอื่น (มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร)  ให้แจ้งรายละเอียด ในบันทึกข้อความขออนุมัติดำเนินโครงการ เพื่อขอพิจารณาหารือต่อคณะกรรมการการเงินและทรัพย์สินของ มจพ. เป็นรายกรณี

การขออนุมัติดำเนินโครงการ และ แผนการใช้เงินกับมหาวิทยาลัย ใช้เวลาอนุมัตินานเท่าไร ?

– หากรายการค่าใช้จ่ายเป็นไปตามระเบียบประกาศ ข้อกำหนด ของมหาวิทยาลัย งานการเงิน สำนักวิจัยฯ จะใช้เวลาดำเนิ นการประมาณ 1-3 วันทำการหลังจากได้รับเอกสาร และนำส่งกองคลัง สำนักงานอธิการบดี เพื่อนำ เสนออธิการบดี ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5-7 วันทำการ

– หากรายการค่าใช้จ่ายไม่ป็นไปตามระเบียบ ประกาศ ข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย จะต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการการเงินและทรัพย์สินพิจารณา ซึ่งมีกำหนดการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ประมาณสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน โดยสำนักวิจัยฯ ต้องส่งเอกสารให้ฝ่ายเลขาฯ ภายในสัปดาห์แรกของเดือน  สำนักวิจัยฯ จึงกำหนดรับเอกสารจากนักวิจัยภายในสิ้นเดือนก่อนหน้าการประชุมพิจารณา

ถ้าหากแหล่งทุนไม่ได้กำหนดค่าดำเนินการมหาวิทยาลัย ต้องดำเนินการอย่างไร?

มหาวิทยาลัยจะคิดค่าดำ เนินการในอัตราร้อยละ 10 หมวดค่าตอบแทนของโครงการวิจัย

ทั้งนี้ โครงการวิจัยที่ปิดโครงการด้วยการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ หรือต้องจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์ในผลงานวิจัยของโครงการวิจัยนั้น สามารถขอยกเว้นค่าดำเนินการมหาวิทยาลัยได้

จะเบิกเงินทุนภายนอกได้เมื่อไหร่?

เมื่อทำสัญญากับแหล่งทุนภายนอกเรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการขออนุมัติดำเนินโครงการ และแผนการใช้เงินกับมหาวิทยาลัยฯ ก่อน จึงจะเบิกเงินงวดที่ 1 ได้

การเบิกเงินแต่ละงวด ใช้เวลานานหรือไม่?

การเบิกเงินแต่ละงวด สำนักวิจัยฯ จะใช้เวลาดำเนินการตรวจประมาณ 1-3 วันทำการ และนำส่งกองคลัง สำนักงานอธิการบดี เพื่อนำเสนอขออนุมัติและจัดทำเช็ค ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5-10 วันทำการ

ทั้งนี้ หากสำนักวิจัยฯ ได้รับแจ้งการโอนเงินหลังวันที่ 20 ของเดือน จะสามารถดำเนินการเบิกจ่ายได้อีกครั้ง ในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป ซึ่งจะล่าช้ากว่าปกติ เนื่องจากระบบการเบิกจ่ายของมหาวิทยาลัยจะปิดระบบเพื่อตรวจสอบทุกวันที่ 21 ของเดือน และจะเปิดอีกครั้งในวันที่ 1 ของเดือนใหม่

การเบิกเงิน จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

การเบิกเงินแต่ละงวด นักวิจัยต้องสำเนาหนังสือการส่งงานแต่ละงวด และหลักฐานการโอนเงิน(ถ้ามี) สำหรับแนบเอกสารการเบิกจ่ายเงิน ส่งมาให้ที่สำนักวิจัยเพื่อดำเนินการ

สามารถปรับหมวดค่าใช้จ่าย ได้หรือไม่?

ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแหล่งทุน ทั้งนี้ หากแหล่งทุนอนุมัติให้สามารถปรับได้ นักวิจัยต้องดำเนินการจัดทำบันทึกข้อความขออนุมัติปรับงบประมาณมายังสำนักวิจัย เพื่อเสนอมหาวิทยาลัยพิจารณาต่อไป

ถ้าโครงการวิจัยดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้ขออนุมัติโครงการวิจัยกับทางมหาวิทยาลัยจะต้องดำเนินการอย่างไรถึงจะได้รับเงิน ?

นักวิจัยต้องดำเนินการขออนุมัติโครงการกับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะต้องชี้แจงเหตุผลการขออนุมัติโครงการล่าช้าหลังจากที่ปิดโครงการแล้วเพิ่มเติมด้วย

ถ้าได้รับทุนจากต่างประเทศ โดยได้การโอนเงินในสกุลเงินต่างประเทศ ต้องดำเนินการอย่างไร ?

ต้องดำเนินการขอปรับแผนประมาณการใช้จ่ายเงินหลังจากที่ได้รับการแจ้งโอนเงินทุกงวด เพื่อให้แผนการใช้เงินตรงกับจำนวนเงินที่ได้รับจริงแต่ละงวด โดยนักวิจัยสามารถประสานงานรายละเอียดกับฝ่ายส่งเสริมการวิจัยได้

สามารถจัดซื้อครุภัณฑ์วิจัย ได้หรือไม่ อย่างไร?

ได้ โดยจะต้องเป็นงบประมาณหมวดครุภัณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ  โดยต้องทำบันทึกข้อความขออนุมัติจัดซื้อครุภัณฑ์ พร้อมรายละเอียดคุณลักษณะ (TOR) มาที่สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทันทีที่ได้รับอนุมัติจัดสรรทุน เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตาม พรบ. จัดซื้อจัดจ้างฯ

หากมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดในโครงการ เช่น เปลี่ยนวิธีการวิจัย เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของโครงการ จะทำได้หรือไม่ ?

การปรับเปลี่ยนรายละเอียดในโครงการ สามารถทำได้โดยจัดทำบันทึกข้อความแจ้งเหตุผลความจำเป็นในการขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการส่งมาที่ ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพิจารณาอนุมัติ

งบประมาณค่าจัดสร้างหรือประกอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ จัดเป็นงบประมาณหมวดค่าใช้สอย หรือค่าครุภัณฑ์ ?

งบประมาณค่าจัดสร้างหรือประกอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ จัดเป็นงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์

การตั้งงบประมาณหมวดค่าจ้าง/ค่าตอบแทนในโครงการ สามารถจ่ายเงินให้กับบุคคลประเภทใดได้บ้าง ?

– ค่าจ้างนักวิจัยร่วมโครงการ หรือ ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัย ที่มิใช่บุคลากรประจำของหน่วยงาน

– ค่าจ้างที่ปรึกษา โดยต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็น และต้องเป็นบุคลากรภายนอกหน่วยงานเท่านั้น

งบประมาณค่าจัดจ้างพัฒนาฐานข้อมูล / แอปพลิเคชั่น จัดเป็นงบประมาณหมวดค่าใช้สอย หรือค่าครุภัณฑ์ ?

งบประมาณค่าจัดจ้างพัฒนาฐานข้อมูล / แอปพลิเคชั่น จัดเป็นงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์

ค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จัดเป็นงบประมาณในหมวดใด ?

ค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฐานข้อมูล จัดอยู่ในหมวดครุภัณฑ์ 

***เนื่องจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ราคาสูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไป มีอายุการใช้งานหรืออายุลิขสิทธิ์เกิน 1 ปีขึ้นไป จัดเป็นครุภัณฑ์ (โดยจะต้องเป็นไปเพื่อการดำเนินการตามแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบการคำนวณขั้นสูงการวิเคราะห์หรือการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีปริมาณมากเท่านั้น)

ค่าบำรุงรักษาเครื่องมือ หรือค่าสอบเทียบเครื่องมือ จัดเป็นงบประมาณในหมวดใด ?

ค่าบำรุงรักษาเครื่องมือ หรือค่าสอบเทียบเครื่องมือ จัดเป็นงบประมาณในหมวดค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์

โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ  1513 (ทุน PMU, ระบบ NRIIS), 1506 (ทุนนอกระบบ NRIIS)
E-mail: research.net@stri.kmutnb.ac.th

โครงการส่งเสริมให้นักวิจัยไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility)

สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ค่าตอบแทนสำหรับอาจารย์ นักวิจัย เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยได้ไปทำงานในสถานประกอบการจริง เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยการสนับสนุนจาก สป.อว.

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถ.ประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง
เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 1506, 1512, 1513, 1514
E-mail: research.net@stri.kmutnb.ac.th

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถ.ประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ
กรุงเทพมหานคร 10800
โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 1506, 1512, 1513, 1514 E-mail: research.net@stri.kmutnb.ac.th