KMUTNB Innovation Awards 2022

ข่าวสาร

งานประกวดสิงประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
VIRTUAL EXHIBITION

ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ

งานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2565

June 16, 2022

ประกาศผลงานที่ได้รับทุนสนับสนุน

การสร้างผลงานต้นแบบสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2565

May 9, 2022

กำหนดการการนำเสนอผลงาน

ณ ห้องประชุม Cloud 9 ชั้น 9 อาคารสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มจพ.
เวลา 09.00 น. - 11.30 น.

ทีมที่ 1 ID01

นวัตกรรมนี้เป็นการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) กับ องค์ความรู้ของระบบ internet of things (IoT) เข้ามาใช้งาน โดยเราจะใช้ embedded ที่ถูกออกแบบสำหรับงานด้าน AI โดยเฉพาะเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด และในส่วน mechanic นั้นเราได้ใช้ เทคโนโลยี computer aide design ทำการจำลองกลไกใน computer ก่อนที่เราจะสั่งผลิตชิ้นงานจริง ทำให้เราสามารถมองเห็นข้อผิดพลาดต่างๆ รวมทั้งเรายังมีแบบพิมพ์เขียวเพื่อที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดผลงานให้ดียิ่งขึ้นได้ง่ายในอนาคต

ผู้จัดทำ: นาย รุ่งโรจน์ กรุงเกษม นางสาว จันทรัชต์ พิมพาทอง นางสาว กรวรรณ พรมสมบุญ
ทีมที่ 2 ID03

Air pollution is one of the humanity problems and one of the main causes is coming from the use of car, no matter how much policy has been created it will not help fix what the humanity facing right now so as a science student we are coming up with the idea to innovate car wheel attachment which can reduce air pollution. After testing the result, we found that the best combination of the filter which used in the car wheel attachment need to be HEPA Filter + Activated carbon + loofah.

ผู้จัดทำ:นาย ศุภากร ขจรเกียรตินุกูล นาย กฤตเมธ โควานิชเจริญ
ทีมที่ 3 ID07

เครื่องคัดแยกมังคุดด้วยเทคนิคประมวลผลรูปภาพ คัดแยกมังคุดคลาส 4 คลาส คือ 1.ผิวมันสวยมีรอยไม่เกิน 5% ของผลผิว 2.ลายมีรอยเกิน 5% แต่ไม่ถึง 50% ของผล 3.ผิวลายมีรอยเกิน 50% ของผล และ 4.ผลเน่าเสียนำไปสร้างโมเดล YoloV4 และ KNN ซึ่งเป็นเทคนิคการประมวลผลภาพแล้วพัฒนาระบบสายพานลำเลียงประกอบด้วย Raspberry pi และกล้องเพื่อประมวลผลทำการคัดแยกและควบคุม servo motor ให้ปัดมังคุดตกฐานรับมังคุดแล้วทดสอบประสิทธิภาพในการคัดแยกสรุปว่าการจำแนกมังคุดโดยใช้เทคนิค YoloV4 มีความแม่นยำ 78% และเทคนิค KNN มีความแม่นยำ 89%

ผู้จัดทำ: นาย ธนโชติ ใจคนอง นาย พานทองคำ ภัทรธนสุทธิ์ นาย ภคิน ผ่องศิริ นาย สรพงษ์ สมสอน นาย สรวัฒน์ ยามสุข
ทีมที่ 4 ID19

ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยโดยมีสรรพคุณและคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดย ข้าวที่สนใจศึกษาคือข้าวก่ำเจ้า มช.107 ซึ่งมาจากการผสมพันธุ์ข้าว ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กับพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด ข้าวก่ำเจ้า มช.107 เป็นข้าวที่ได้รับรางวัลองค์กรที่มีผลงานด้านการปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชดีเด่น ประจำปี 2562 ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงนำข้าวก่ำเจ้า มช.107 มาวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญและฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอดและเพิ่มมูลค่าให้ข้าว

ผู้จัดทำ:นางสาวอภิชญา ปริศนานันทกุล
ทีมที่ 5 ID20

ฉลากอัจฉริยะเพื่อบอกความสดของกุ้งจากกระเจี๊ยบแดง ประกอบด้วย 2 ส่วน โดยส่วนแรกได้แก่กระดาษอินดิเคเตอร์ที่มีสารสกัดจากกระเจี๊ยบแดง ทำหน้าที่ตรวจวัดแก๊สที่เกิดจากการเน่าเสียของกุ้ง และเกิดการเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีเขียวเมื่อกุ้งเกิดการเน่าเสีย ซึ่งสามารถเทียบสีกับแถบสีบนฉลากในส่วนที่สองที่มีคำแนะนำในการใช้งาน ฉลากอัจฉริยะสามารถตรวจการเน่าเสียได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับกุ้งและใช้สารสกัดจากธรรมชาติจึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค และยังสามารถพัฒนาเพื่อใช้เป็นฉลากบอกความสดของอาหารทะเลในบรรจุภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ได้

ผู้จัดทำ:นายนฤเบศ โมนะ นางสาวณัฐวดี ตั้งเสถียรกิจ นายสุวัฒน์ชัย ประพาฬ นายพงศ์พรหม พรเพิ่มพูน
ทีมที่ 6 ID27

ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น การดูความเสื่อมการทำงานของไตสามารถดูจากค่า Creatinine ซึ่ง และโปรตีน Microalbuminuria ที่รั่วออกมาในปัสสาวะ strip ที่เราออกแบบสามารถตรวจหา Creatinine และ Microalbumin ที่ใช้งานง่าย และสามารถแปลผลเป็น albumin/creatinine ratio ได้ ทำให้มีความแม่นยำในการทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังได้มากกว่า urine strip ทั่วไป และสามารถนำไปสู่การวางแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือผู้ป่วยสามารถตรวจได้เองที่บ้าน ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการไปเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล

ผู้จัดทำ:นางสาวอารียา ปุณโณปกรณ์ นางสาวอันนา ทีฆะทิพย์สกุล ผศ.ดร.ฌลณต เกษตร
ทีมที่ 1 IP08

เครื่องอบแห้งด้วยเทคนิคการสั่นสะเทือนร่วมกับไมโครเวฟ เป็นการอบแห้งรูปแบบใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีลักษณะเป็นเม็ด เช่น ข้าวเปลือก ข้าวโพด ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญสามส่วน คือ ส่วนทำความร้อน ส่วนห้องอบแห้ง และส่วนสร้างแรงสั่นสะเทือน โดยวัสดุจะรับแรงสั่นสะเทือนจากขดลวดสปริงทำให้วัสดุจะเกิดการลอยตัวขึ้นและตกลงด้านล่างตลอดเวลาพร้อมกับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เหตุผลดังกล่าวทำให้วัสดุสัมผัสกับคลื่นไมโครเวฟได้อย่างทั่วถึง การอบแห้งจึงเป็นไปอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพสูง และประหยัดพลังงาน

ผู้จัดทำ:ผศ.ดร.ธีรศักดิ์ ศรีมิตรรุ่งโรจน์
ทีมที่ 2 IP09

เครื่องอบแห้งด้วยเทคนิคการสั่นสะเทือนร่วมกับไมโครเวฟเป็นการอบแห้งรูปแบบใหม่สำหรับวัสดุที่มีลักษณะเป็นเม็ด เช่น ข้าวเปลือก หรือข้าวโพด ประกอบด้วยส่วนสำคัญสามส่วน คือ ส่วนทำความร้อน ส่วนห้องอบแห้ง และส่วนสร้างแรงสั่นสะเทือน โดยวัสดุจะรับแรงสั่นสะเทือนจากขดลวดสปริงที่ถูกขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ขับทำให้จะเกิดการลอยตัวขึ้นและตกลงด้านล่างตลอดเวลาพร้อมกับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทำให้วัสดุสัมผัสกับคลื่นไมโครเวฟได้อย่อย่างทั่วถึง การอบแห้งจึงเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธภาพสูง รวมถึงคุณภาพหลังการขัดสีที่ดี

ผู้จัดทำ:ผศ.ดร.ธีรศักดิ์ ศรีมิตรรุ่งโรจน์
ทีมที่ 3 IP19

อุปกรณ์รักษาผู้ป่วยกระดูกหักประเภทแผ่นดามกระดูกและสกรูในปัจจุบัน ยังคงพบการแตกหักหรือเสียรูป ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเป็นผู้พิการถาวรและเสียชีวิตได้ จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาความแข็งแรงด้วยการนำกระบวนการพ่นยิงอนุภาคละเอียดมาประยุกต์ใช้ โดยแผ่นดามกระดูกจะสามารถรับแรงดัดได้ดีกว่าเดิมถึงร้อยละ 15 มีอายุการใช้งานมากกว่าเดิมถึง 4 เท่าตัว และสกรูยึดกระดูกจะสามารถต้านทานการดึงหลุดได้สูงขึ้นร้อยละ 70 โดยเมื่อทดสอบในมนุษย์กว่า 100 คนจะไม่พบการเสียหายของอุปกรณ์ ซึ่งแสดงความเป็นไปได้ในการต่อยอดในเชิงพาณิชย์

ผู้จัดทำ:นายกรธัช องค์ตระกูลกิจ นายปุญญวัฒน์ ทองนวล รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ นพ.พลชัย วงษ์ทองสาลี
ทีมที่ 4 IP20

Power Air Purified Transporter for baby (PAPT) ตู้เคลื่อนย้ายทารกและเครื่องจ่ายอากาศบริสุทธิ์ มีวัตถุประสงค์ ให้ทารกปลอดภัย ป้องกันการกระจายเชื้อโรคทางเดินหายใจ เช่น โควิด 19 หวัด วัณโรค จากสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลสู่ทารก และจากทารกป่วยสู่สิ่งแวดล้อม โดยไม่ทำให้ทารกขาดออกซิเจนและมีภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง จากการขาดการหมุนเวียนอากาศ เป็นตู้ที่มีเครื่องจ่ายอากาศเติมอากาศบริสุทธิแรงดันบวกเข้าสู่ภายในตู้ ผ่าน HEPA Filter เพื่อกรองแบคทีเรีย และไวรัส โดยอากาศจะผ่านทางออกที่มี HEPA Filter เช่นกัน

ผู้จัดทำ:นายณัฐชยพล คำอิ่ม นายนิรุตติ์ ทูลฉลาด นายเจษฎา สดใส พญ.บุญลักษณ์ คำอิ่ม
ทีมที่ 5 IP26

สิ่งประดิษฐ์นี้เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีทางวัสดุศาสตร์ที่สามารถสร้างโลหะผสมจำรูปมาใช้ทดแทนเหล็กกล้าไร้สนิม ทำให้สามารถได้ลวดที่คืนรูปได้ที่อุณหภูมิช่องปาก หรือ 37 องศาเซลเซียส มาเป็นลวดจัดฟันที่มีแรงเคลื่อนฟันที่คงที่ และระยะเคลื่อนได้มากกว่าลวดเหล็กกล้าไร้สนิมในท้องตลาดได้ถึง 10 เท่า ทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บ และฟันเคลื่อนที่ได้ตามหลักสรีระวิทยา และยังช่วยลดระยะเวลารักษาได้ โดยเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดฟันและลดการเจ็บปวดจากการจัดฟันได้ ทั้งนี้ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ผลิตเอกชน ภายใต้มาตรฐาน ISO

ผู้จัดทำ:รองศาสตราจารย์ ดร. อนรรฆ ขันธะชวนะ นายชนาธิป ชัยอรวรรณ นายทวีศักดิ์ เลิศเธียรดำรง
ทีมที่ 6 IP29

วิริเบด หรือ wiribed (affordable hospital bed for disadvantage people) เป็นโครงการของ นายปกกฤษณ์ จีระภัทร์ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีแนวคิดออกแบบและผลิตเตียงผู้ป่วยราคาถูก สำหรับคนที่มีรายได้น้อย สามารถซื้อไปใช้ได้ โดยเตียงนี้ ผลิตจากวัสดุยั่งยืน (sustainable materials) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(eco friendly) แนวคิดที่ได้จากการออกแบบ คือ การถ่ายเทน้ำหนัก และศิลปะการพับกระดาษ Origami ของญี่ปุ่น ที่ใช้กระดาษเพียงแผ่นเดียว ก็สามารถพับเป็นรูปแบบต่างๆ ขึ้นมาได้

ผู้จัดทำ:นายปกกฤษณ์ จีระภัทร์

ความเป็นมา

“งานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ” หรือ KMUTNB Innovation Awards ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่มีความสนใจงานวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้แสดงความรู้ความสามารถในการวิจัย เพื่อสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่นำมาซึ่งความเข้มแข็งและความเจริญของประเทศไทยอย่างยั่งยืน แสดงเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า “มจพ. คือมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์ประดิษฐกรรมสู่นวัตกรรม” โดยแต่เดิมใช้ชื่อว่า “การประกวดรางวัลนวัตกรรมเทคโนโลยี” (ปี พ.ศ. 2552 - 2556) และ “งานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ” (ปี พ.ศ. 2557 – 2561) โดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อ“งานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ” ในปี พ.ศ. 2562 และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา “งานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ” ได้เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมประกวดจากภายนอกมหาวิทยาลัยเข้าร่วมประกวดแข่งขัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและบุคลากรของประเทศได้มีเวทีในการแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ และองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม และพัฒนาความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรมเพี่อความได้เปรียบในการแข่งขันกับนานาประเทศ รวมถึงสร้างความตระหนักและความตื่นตัวในการเป็นผู้ประกอบการ ตลอดจนการบ่มเพาะและเร่งการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ (Innovative startup) สนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม และสังคมฐานความรู้ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัล Grand Prize สำหรับผู้ชนะเลิศการประกวด

ในปี 2564 การจัดงานบรรลุวัตถุประสงค์โดยมีผู้เข้าร่วมประกวดจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนจากทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 200 ผลงาน และมีผู้สนใจเข้าชมผลงาน ผ่านระบบเสมือนจริง (Virtual Exhibition) กว่า 93,350 คน

  • สถานที่Virtual Exhibition
  • วันจัดแสดง16 พฤษภาคม-24 มิถุนายน 2565
  • ผลงาน+200 ผลงาน
  • ผู้ชม+93,000 ราย

รางวัลและประเภทการประกวด

รางวัล Grand Prize

ถ้วยพระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รางวัลสูงสุดของการประกวด พิจารณาจากผลงานที่ชนะเลิศการประกวดทั้ง 2 ประเภท เพื่อเฟ้นหาผลงานที่เหมาะสมที่สุด

Innovative Ideas (iD)
ผลงานมีการแสดงแนวคิดเริ่มต้นโดยการประยุกต์ใช้หลักการพื้นฐานมาสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ โดยอาจยังไม่ได้มีทดลอง หรือพิสูจน์องค์ประกอบของแนวคิด มีระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (TRL) ไม่เกินระดับ 3

TRL<=3

  • รางวัลชนะเลิศ
  • โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวนเงิน 40,000.00 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
  • โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวนเงิน 30,000.00 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
  • โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวนเงิน 20,000.00 บาท
  • รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล
  • เกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวนเงิน 5,000.00 บาท
Innovative Products (iP)
ผลงานมีการแสดงถึงความพร้อมใช้งาน โดยองค์ประกอบแต่ละส่วนสามารถทำงานร่วมกันได้ มีการทดลองใช้งานพร้อมพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ มีระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (TRL) อยู่ในระดับ 4 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า

TRL>=4

  • รางวัลชนะเลิศ
  • โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวนเงิน 40,000.00 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
  • โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวนเงิน 30,000.00 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
  • โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวนเงิน 20,000.00 บาท
  • รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล
  • เกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวนเงิน 5,000.00 บาท
ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology Readiness Level: TRL)

อ่านรายละเอียดการรับสมัคร

หลักเกณฑ์การพิจารณาตัดสิน

หมายเหตุ
* การพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
** ผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ในการระงับหรือยกเลิกการให้สิทธิหรือรางวัลใดๆ แก่บุคคลที่กระทำการใดๆ โดยทุจริต หรือผิดกฎหมาย หรือไม่ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขในการประกวดนี้

ผลงานนั้นไม่เคยใช้ที่ไหนมาก่อนหรือในกลุ่มคนนั้นไม่เคยใช้ โดยเกิดจากการคิดใหม่ สร้างสรรค์ใหม่ ที่มาจากการนำของที่มีอยู่มาใช้ การนำเทคโนโลยีหรือแนวคิดมาผสมผสานร่วมกัน การนำหลักการพิจารณาที่ซับซ้อนจนได้ผลดี และการนำสิ่งที่ ไม่คาดคิดมาก่อน นำมาใช้คิด ใช้สร้าง จนสามารถสร้างความประหลาดใจ

1

ความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์


ผลงานนั้นสามารถอธิบายการทำงานให้สอดคล้องกับทฤษฎี โดยเป็นทฤษฎีทั้งในระดับพื้นฐาน การนำไปใช้ การวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวด้วยระดับความยาก ในการทำความเข้าใจ การต้องค้นหาข้อมูล และความยากที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยง่าย

2

ความถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักวิชาการ


มีแนวทางหรือมีการนำผลงานไปสร้างเป็นต้นแบบ หรือสามารถนำผลงานนั้นไปผลิตจนสามารถใช้งานได้จริง เห็นผลลัพท์ที่ได้จากผลงานนั้นๆในรูปธรรม

3

ความสามารถในการผลิตได้จริง


การนำผลงานไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายจนทำให้เกิดความพึงพอใจ ได้รับคำแนะนำจากผู้ใช้ ได้ข้อมูลในการนำไปพัฒนาจนถึงขั้นตอนการทำสู่เชิงพาณิชย์ โดยมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย กำหนดราคาต้นทุน กำหนดราคาขาย ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นในการนำไปใช้งาน หรือมีความสามารถในการผลิตเป็นจำนวนมาก

4

การนำไปพัฒนาต่อยอดและการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์

การนำเสนอผลงานของตนเองให้มีความโดดเด่น สร้างความน่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย หรือสามารถตอบคำถามได้ดีในเวลาที่กำหนด ตลอดรวมถึงความเรียบร้อยสมบูรณ์ของเอกสารนำส่งและผลงานต้นแบบ

5

รูปแบบการนำเสนอผลงานที่สมบูรณ์และน่าสนใจ

ผลงานนั้นสามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้ตามหลักเกณฑ์ และมีประเด็นสำคัญที่ครบถ้วน

6

ความเป็นไปได้ของการจดสิทธิบัตร


กำหนดการ

***วันเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมและสถานการณ์ปัจจุบัน**

เปิดรับสมัคร

1 มีนาคม - 18 เมษายน 2565
(ไม่เกินเวลา 16.00 น.) ทางเว็บไซต์ https://stri.kmutnb.ac.th/innovation

01

ประกาศผลรอบคัดเลือก

29 เมษายน 2565 จำนวน +60 ทีม

02

แสดงนิทรรศการ

16 พฤษภาคม-24 มิถุนายน 2565
(Virtual Exhibition)

03

ประกาศผลทีมที่เข้ารอบตัดสิน

15 มิถุนายน 2565 จำนวน 12 ทีม

04

Pitching & Winner

24 มิถุนายน 2565 โดย ผู้เข้ารอบตัดสินจะต้องนำเสนอผลงาน และประกาศผลรางวัลในวันเดียวกัน

05
  • สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มจพ.
  • 0 2555 2000 # 1506
  • info@stri.kmutnb.ac.th