TRIUP Act
การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย

TRIUP Act

การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย

TRIUP Act คืออะไร ?

TRIUP Act ย่อมาจาก “Thailand Research and Innovation Utilization Promotion Act”

หรือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้ครั้งแรก วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็น พ.ร.บ. ที่ถูกผลักดันเข้ามาเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น

TRIUP Act คืออะไร ?

TRIUP Act ย่อมาจาก “Thailand Research and Innovation Utilization Promotion Act”

หรือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้ครั้งแรก วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็น พ.ร.บ. ที่ถูกผลักดันเข้ามาเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น

พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม คือ กฎหมายที่สนับสนุนให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจากหน่วยงานของรัฐได้ เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างสหรัฐอเมริกา ก็มีการประกาศใช้กฎหมาย Bayh – Dole Act หรือพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม มาเกือบ 40 ปีแล้ว

เมื่อมองกลับมาที่ประเทศไทยจะพบว่าเรามีผลงานวิจัยและนวัตกรรมมากมายที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์มากเท่าที่ควร ด้วยหลายสาเหตุ เช่น การขาดความเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐ เอกชนและมหาวิทยาลัย การลงทุนวิจัยที่กระจัดกระจายเป็นโครงการขนาดเล็กในหลายหน่วยงาน การขาดโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ รวมไปถึงการขาดแคลนบุคลากรระดับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์สูง และการขาดแคลนความรู้ระดับต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดบางประการ ที่ทำให้ผู้ทำวิจัยขาดแรงจูงใจในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และขาดกฎหมายและระเบียบที่เอื้อต่อการสร้างผลงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมของรัฐไปใช้ประโยชน์ แก้ปัญหาเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยระหว่างหน่วยงานให้ทุนกับผู้รับทุน และเมื่อหน่วยงานผู้รับทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็น มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัย ได้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม จะช่วยให้ Startup และ SME สามารถรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น ส่งผลช่วยให้เกิดจำนวน Startup และ SME ที่ใช้เทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดระบบเศรษฐกิจนวัตกรรมได้

นอกจากนี้ ยังช่วยยกระดับงานวิจัยในสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยเพิ่มแรงจูงใจให้สถาบันวิจัยและนักวิจัย ผลิตผลงานวิจัยฯ ที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของภาคผลิตและบริการ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางพร้อมมุ่งสู่การเป็นประเทศรายได้สูง

1. ให้ผู้รับทุนไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ภาคเอกชนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐได้

2. ให้ผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมต้องใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งต้องบริหารจัดการและรายงานผลการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อผู้ให้ทุน

3. กำหนดหลักเกณฑ์ในการโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรมของผู้เป็นเจ้าของผลงานให้แก่บุคคลอื่นและหน้าที่ของผู้รับโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรม

4. ให้ผู้ที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยและนวัตกรรม สามารถขออนุญาตใช้ประโยชน์ได้ โดยเสนอเงื่อนไขและค่าตอบแทนที่เหมาะสม

5. ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีออกคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากทุนของรัฐในกรณีฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤติ

6. กำหนดหน่วยงาน วิธีการส่งเสริมและการจัดสรรเงินค่าตอบแทนแก่นักวิจัยเพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง (Appropriate Technology)

TRIUP Act ไม่ได้ให้ประโยชน์แก่นักวิจัยเท่านั้น พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีรายละเอียดหรือข้อกำหนดที่ค่อนข้างครอบคลุมส่งผลให้ทุกภาคส่วนจะได้รับประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนเองที่แม้จะได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐแต่ก็จะดำเนินการต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น  ในภาคประชาชน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน จะสามารถเข้าถึงผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ง่ายขึ้นจากการวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) ซึ่งก็จะทำให้นักวิจัย มหาวิทยาลัยตระหนักถึงการวิจัยเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างมากขึ้น และสุดท้ายด้วยการที่เกิดการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยและนวัตกรรมที่มากขึ้น ก็จะนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมให้กับประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

ใน TRIUP Act มีกรอบระยะเวลาของการนำไปใช้ประโยชน์ไม่เกิน 2 ปี หากเราไม่สามารถบริหารจัดการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในกรอบเวลาดังกล่าวได้เราอาจเสียสิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยฯ ส่วนการนำไปประโยชน์ที่ว่ามีรูปแบบดังนี้

  • การใช้หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) ในตัวผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์ การจัดทำบริการ การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิต การจัดโครงสร้างองค์กร การบริหารจัดการ หรือดำเนินการอื่นในเชิงพาณิชย์ หรือสาธารณประโยชน์
  • การวิจัยต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในบางผลงานวิจัยอาจไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือสาธารณประโยชน์ได้ทันที ซึ่งอาจต้องนำไปศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือวิจัยเพิ่มเติม อีกหลาย Step กว่าจะกลายมาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้ได้จริง ดังนั้นหากผลงานวิจัยของเราแม้ไม่ได้ถูกนำไป Licensing แต่มีการพัฒนาต่อยอดระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology Readiness Level) ให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ก็ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์เช่นกัน
  • การจำหน่ายจ่ายโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรม หรือการขายผลงานวิจัยก็ถือเป็นการนำไปใช้ประโยชน์เช่นกัน

Triup Act จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคต ส่งผลให้เกิดกระบวนการ หรือวิธีการใหม่ ๆ ในหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งผลักดันการนำผลวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์จริงอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแรงจูงใจของนักวิจัยไปจนถึงการสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

พรบ. และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การดำเนินการ

เปิดเผยการประดิษฐ์และรายงานการนำไปใช้ประโยชน์ (Disclosure Form)

คู่มือปฏิบัติ TRIUP Act
(ฉบับ Short Version)

โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สามารถเลือกดูได้ตามบทบาทของท่าน

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถ.ประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง
เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 1506, 1513, 1516
E-mail: info@stri.kmutnb.ac.th

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1518 ถ.ประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง
เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 1506, 1513, 1516
E-mail: info@stri.kmutnb.ac.th